การบริหารเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพสู่การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2
คำสำคัญ:
การบริหารเป็นทีม, การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม, ประสิทธิภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานเป็นทีมและการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลกเขต 2 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การบริหารงานเป็นทีมและการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 3. เพื่อศึกษาอิทธิผลของการบริหารงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน สถานศึกษา ปีการศึกษา 2567 จำนวน 339 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก และผลการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานเป็นทีมและการบริหารแบบมีส่วนร่วมมีค่าความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.665–0.810 3. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา จำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการมีเป้าหมายเดียวกัน ด้านการสื่อสารสองทาง ด้านการมีส่วนร่วมและด้านการมีความไว้วางใจกัน ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ 0.493 มีอำนาจพยากรณ์ ได้ร้อยละ 24.3
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
ดลนภา ฐิตะวรรณ และปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานวิชาการของ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยี แห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 447–458.
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2553). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2550). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2554). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ประภาพร ซื่อสุทธิกุล. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวของกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวของในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพฑูรย์ กลมกูล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการทำงานเป็นทีมของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิเชียร ไทยแท้. (2550). การบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 - 2570. สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). สำนักนายกรัฐมนตรี.
อนุวัฒน์ ทัศบุตร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีม
ที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.