การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt (ในภาษาไทย) และ 16 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ (Author Guidelines)

วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน รับตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้

            1.  บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน

            2.  บทความวิชาการ (Academic Article) ที่เสนอเนื้อหาความรู้ วิชาการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป

การส่งบทความ

            บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนอย่างน้อย 2 ท่าน เพื่อประเมินคุณภาพของบทความก่อนตีพิมพ์  ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร

 การเตรียมบทความ

            บทความต้องเป็นตัวพิมพ์โดยใช้ชุดแบบอักษร (Font) ชนิดไทยนิรมิต เอเอส (TH Saraban PSK) กำหนดขนาดดังนี้ ชื่อเรื่องขนาดอักษร 18 ตัวหนา หัวข้อขนาดอักษร 14 ตัวหนา เนื้อเรื่องขนาดอักษร 14 ตัวบาง จัดกั้นหน้าหลังตรง และมีระยะห่างบระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (Double spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษพิมพ์สั้นขนาด A4 พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1.5 นิ้ว และซ้าย ด้านขวา กับด้านล่าง 1 นิ้ว พร้อมใส่หมายเลขกำกับทางมุมขวาบนทุกหน้าบทความ จำนนวนหน้าไม่ควรยาวเกิน 10-15 หน้ากระดาษ โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง

การพิจารณาและคัดเลือกบทความ

             บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้นิพนธ์บทความ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double- blind peer review)

ส่วนประกอบของบทความวิจัย

              1. บทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อควรมีความยาว 250 – 300 คำ ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบทคัดย่อควรเขียนให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่อง ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ควรกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ควรกล่าวถึงวิธีการค้นคว้าข้อมูล ระเบียบวิธีวิจัยที่นำมาศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัย ควรกล่าวถึงผลสรุปของการค้นคว้าและศึกษา คำสำคัญ ควรมีคำสำคัญ 3-5 คำ ที่ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา และจะปรากฎอยู่ในส่วนท้ายของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยต้องจัดเรียงคำสำคัญตามตัวอักษร และคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)

            2.  ที่มาและความสำคัญของปัญหา เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (Review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่าง ๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้งนี้ สมมติฐานของการศึกษา ตลอดจนวัตถุประสงค์ของการศึกษาให้ชัดเจน

            3. วัตถุประสงค์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ควรเรียบเรียงให้ชัดเจน

            4. การทบทวนวรรณกรรม กล่าวถึงแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควรเขียนแบบสังเคราะห์ หรือสรุปเฉพาะในความสำคัญ และอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลให้ถูกต้อง

            5. กรอบแนวคิดการวิจัย กล่าวถึงกรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ เช่น ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม รวมถึงอ้างอิงถึงที่มาของตัวแปรดังกล่าวด้วย โดยอาจเขียนเป็นภาพประกอบหรือการเขียนแบบความเรียงก็ได้

            6.  วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา และวิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  การเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

            7.  ผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลที่ได้จาการศึกษาและวิเคราะห์ในข้อ 3.2 ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่องและแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม

            8.  การอภิปรายผล (Discussion) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของผู้นิพนธ์นำมาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์

           9. องค์ความรู้ใหม่  กล่าวถึงองค์ความรู้ใหม่ หรือแนวคิดใหม่ หรือหลักการใหม่ ที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยเรื่องนี้แบบสรุป โดยอาจเขียนเป็นภาพ แผนผังความคิด หรือเขียนเป็นความเรียงให้เข้าใจง่าย ๆ 

           10. สรุป กล่าวถึงสรุปรวบยอดทั้งหมดของบทความวิจัยนี้

           11.  ข้อเสนอแนะ (Suggestion) การแนะแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป  

           12.  กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) (ถ้ามี) เป็นส่วนที่กล่าวขอบคุณต่อองค์กร หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือร่วมมือในการวิจัย รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุนวิจัย และหมายเลขของทุนวิจัย

           13.  เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (Citations in text) แบบนาม, ปี เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ (  ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงแตกต่างกันตามประเภทของเอกสารหรือแหล่งที่ใช้อ้างอิง

Academic Articles

Section default policy

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ