ความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของบุคลากรกรมการขนส่งทางบก

ผู้แต่ง

  • นิติพันธ์ หุณทนเสวี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศรีรัฐ โกวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความรู้ความเข้าใจ, พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562, ช่องทางการรับรู้

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจของบุคลากรกรมการขนส่งทางบกที่มีต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของบุคลากรกรมการขนส่งทางบกที่มีต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสื่อที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลกับระดับความรู้ความเข้าใจของบุคลากรกรมการขนส่งทางบกที่มีต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรกรมการขนส่งทางบก จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติไคสแควร์ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้ความเข้าใจพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของบุคลากรกรมการขนส่งทางบก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และตำแหน่ง ที่แตกต่างกันมีความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 แตกต่างกัน ส่วนเพศ ที่แตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ไม่แตกต่างกัน 3. ปัจจัยด้านช่องทางการรับรู้้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของบุคลากรกรมการขนส่งทางบก

References

กมลชนก วงศ์สวัสดิ์ และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2563). ความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ. 2562 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 53-67.

กรมการขนส่งทางบก. (2567a). กองแผนงาน กลุ่มสถิติการขนส่ง: สถิติวิเคราะห์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สืบค้น 7 พฤษภาคม 2567 จาก https://web.dlt.go.th/statistics/

กรมการขนส่งทางบก. (2567b). กองการเจ้าหน้าที่ ภาพรวมอัตรากำลังข้าราชการ. สืบค้น 7 พฤษภาคม 2567 จาก https://apps.dlt.go.th/hr/ web2556/ index.php?name=page&file=page&op=m03

กัมปนาท บุตรตั้ว. (2567). ความหมายของสื่อการสอน. ClassStart. สืบค้น 7 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.classstart.org/classes/297.

ณัชจรี อภิญญามนตรี และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2566). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของข้าราชการกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์, 1(1), 39-50.

ปวริศร์ จันทวัฒน์ และศรีรัฐ โกวงศ์. (2566). ความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศของบุคลากรกรมประชาสัมพันธ์. วารสารสหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(2), 14-24.

พงศ์กิจ จันทเลิศ. (2559). ความรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัย กรณีศึกษา : เจ้าหน้าที่สังกัดกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประจำจังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562. (27 พฤษภาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 69 กหน้า 52-95.

วิรัญชนา วิทิตปกรณ์ และศรีรัฐ โกวงศ์ (2567). ความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ของบุคลากรสำนักงบประมาณ. Journal of Modern Learning Development, 9(10), 597-613.

ศศิพงษ์ ศรีสวัสดิ์. (2567). การเขียนเชิงสร้างสรรค์บนสื่อออนไลน์. สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุนิสา นันทชลากรกิจ. (2566). ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรเชษฐ์ พอสม, วิจิตรา ศรีสอน และชนรรดา สว่างภพ. (2565). ความรู้ความเข้าใจความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 กรณีศึกษาข้าราชการสำนักข่าว กรองแห่งชาติ. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(9), 235-247.

อมรวรรณ แซเผือก. (2564). ความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ของบุคลากรสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อัญญา มธุรเมธา และพลอยไพลิน ศรีวิเศษ. (2559). ความรู้ความเข้าใจของพนักงานส่วนท้องถิ่นในเขต อำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์เกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539. รายงานการวิจัย. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Bloom, B. S., Hastings, J. T., & Madaus, G. F. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw-Hill.

Hospers, J. (1967). An introduction to philosophical analysis (2nd ed.). Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-02

How to Cite

หุณทนเสวี น., & โกวงศ์ ศ. (2025). ความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของบุคลากรกรมการขนส่งทางบก. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(2), 746–758. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1807