ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ, ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรและผู้บริหารของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จำนวน 211 คน โดยการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรทั้งหมด ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.379-0.815 และค่าความเชื่อมั่น 0.869 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ ด้านการเยียวยารักษา (β = 0.630) การอุทิศตนเพื่อพัฒนาคน (β = 0.597) การสร้างมโนทัศน์ (β = 0.485) ความรับผิดชอบร่วมกัน (β = 0.348) ด้านการรับฟัง (β = 0.271) และการเห็นอกเห็นใจ (β = 0.214) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอสว่างแดนดิน ได้ร้อยละ 62.50 3. ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (β = 0.325) และความรู้สึกเป็นที่รัก (β = 0.199) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอสว่างแดนดินได้ร้อยละ 42.10
References
ประภัสสร เจริญนาม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลชุมชนในเขตบริการสุขภาพที่ 3-6 ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปราณี แสนต่างนา, ชาติชัย อุดมกิจมงคล และสามารถ อัยกร. (2567). อิทธิพลของภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(3), 1100-1114.
ภัคจิรา วิถี. (2559). ขวัญกำลังใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการทหาร สังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 29. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
รัชนีวรรณ ภูมิสะอาด และวรญา มณีลังกา. (2559). แรงจูงใจ ขวัญกำลังใจ และความพึงพอใจในการทำงาน ด้านทันตสาธารณสุขของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 27(2), 84–96.
สมหมาย จันทร์เรือง. (2558, 7 กรกฎาคม). รพ.สต. ทางเลือกหรือทางหลักของระบบสุขภาพไทย. Hfocus. สืบค้น 8 เมษายน 2568 จาก https://www.hfocus.org/content/2015/07/10346.
สุระพรรณ พนมฤทธิ์ และเพ็ญพรรณ พิทักษ์สงคราม. (2564). การพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ: ทิศทางการบริหารจัดการในองค์การพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(3), 202–210.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานหน่วยงาน สำนักบริหารการสาธารณสุข คู่มือการปฏิบัติงาน: บริการสุขภาพ (ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูและคุ้มครองผู้บริโภค). นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
อุไรวรรณ แก้วเพชร. (2559). อิทธิพลของภาวะผู้นำแบบบริการของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อิทธินันท์ ซอหะซัน, เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต และปัญญา ธีระวิทยาเลิศ. (2560). รูปแบบการจัดการการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของหลักสูตรอนุปริญญา สาขานายช่างบำรุงรักษาอากาศยาน สถาบันการบินพลเรือน. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 11(1), 148–163.
Greenleaf, R. K. (1998). Servant Leadership. New Jersey: Paulist Press.
Hardy, B. (2009). Morale: Definitions, dimensions and measurement. Doctoral dissertation, University of Cambridge, Cambridge Judge Business School.
Spears, L. C. (2010). Character and servant leadership: Ten characteristics of effective, caring leaders. The Journal of Virtues & Leadership, 1(1), 25-30.