การศึกษาทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาด้วยวิธีการสื่อสารของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ อำเภอท่ายาง ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2
คำสำคัญ:
การสอนภาษาอังกฤษ, การสื่อสาร, ทัศนคติ, กิจกรรมการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาด้วยวิธีการสื่อสารของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ อำเภอท่ายาง ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำนวน 44 คน ซึ่งคัดเลือกด้วยการสุ่มแบบง่าย การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนภาษาอังกฤษมีทัศนคติเชิงบวกต่อการสอนด้วยวิธีการสื่อสาร โดยเฉพาะด้านการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นการโต้ตอบและสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย และพบว่าการใช้เกม รวมถึงเทคโนโลยีช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ทักษะการสื่อสารของครูและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการนำวิธีการนี้ไปใช้ ได้แก่ ขนาดห้องเรียนที่ใหญ่และความมั่นใจของครูในการใช้ภาษาอังกฤษ ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยเน้นการพัฒนาทักษะของครู เพิ่มการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอน และส่งเสริมรูปแบบการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น
References
ขวัญชัย ขัวนา. (2562). การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 16(73), 13-21.
ฉวีวรรณ โยคิน. (2561). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 21(1), 27–37.
ธนกร สุวรรณพฤฒิ. (2564). การศึกษาทัศนคติของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษที่มีต่อการสอนภาษาแบบสื่อสารในรายวิชากิจกรรมสำหรับการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(2), 104–120.
ปัทมา ยิ้มสกุล. (2563). การจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ด้วยทักษะ CLT สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม, 6(2), 14–28.
พัชรินทร์ สุริยวงค์. (2560). ศาสตร์การพูด. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ภาสกร เรืองรอง, สุพรรษา น้อยนคร, ภรภัทร รัตนเจริญ, อารยา ปู่เกตุแก้ว, วิชิต ชาวะหะ และวัชรพงศ์ แสงอ่อน. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับทาง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 259–270.
อรุณ เมียดสีนา. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาอังกฤษ ตามแนวการเรียนรู้แบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Goriot, C., & van Hout, R. (2022). Primary-school teachers’ beliefs about the effects of early-English education in the Dutch context: Communicative scope, disadvantaged learning, and their skills in teaching English. International Journal of Bilingual Education and Bilingualism, 26(4), 298–513.
Nggawu, L. O., & Thao, N. T. P. (2023). The impact of communicative language teaching (CLT) approach on students’ speaking ability in a public Indonesian university: Comparison between introverts and extrovert groups. International Journal of Language Education, 7(3), 393–413.
Sukavatee, P., & Khlaisang, J. (2023). A survey of research into English teaching approaches and instructional media in Thailand. Learn Journal, 16(2), 752–769.