การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การจัดการศึกษา, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการศึกษาโรงเรียนในปัจจุบัน และนำเสนอแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยมีขั้นตอนในการศึกษา คือ การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการสังเคราะห์ข้อมูลและสรุปเป็นผลการศึกษาการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยจากการศึกษาพบว่า 1. สถานการณ์การจัดการศึกษาในโรงเรียนปัจจุบัน พบว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้และการจัดการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไป ได้สร้างความท้าทายให้กับโรงเรียนในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของโลกยุคใหม่ และ 2. แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า โรงเรียนควรมุ่งเน้นการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับกระบวนการเรียนรู้ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะที่จำเป็น เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกัน การพัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีและสอนในสภาพแวดล้อมดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพเป็นอีกประเด็นสำคัญ
References
ธงชัย สันติวงษ์. (2535). องค์การและการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
พัชรา มั่งชม. (2542). นโยบายธุรกิจ การบริหารเชิงกลยุทธ์. ภาควิชาบริหารธุรกิจและสหกรณ์ คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2564). คุณลักษณะของผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership). สืบค้น 12 มิถุนายน 2567 จาก https://www.popticles.com/business/strategic-leadership-characteristics/.
นิรมล เสรีสกุล, อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ และพรรณปพร บุญแปง. (2567). กรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้. สืบค้น 12 เมษายน 2567 จาก https://theurbanis.com/insight/09/04/2021/4431.
สมยศ นาวีการ. (2540). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. https://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdPlan60-79.pdf.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
ฮิวจ์ เดลานี. (2562). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะคือหัวใจสำคัญของการศึกษา. สืบค้น 20 เมษายน 2567 จาก https://www.unicef.org/thailand/th/stories/การศึกษาสำหรับศตวรรษที่-21.
Bryson, J. M., & Alston, F. K. (2005). Creating and implementing your strategic plan: A workbook for public and nonprofit organizations (2nd ed.). San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Dess, G. G. & Miller, A. (1993). Strategic Management. Singapore: McGraw – Hill.
Luterbach, K., & Brown, C. A. (2011). Education for the 21st century. International Journal of Applied Educational Studies, 11, 14-32.
Morrill, R. L. (2010). Strategic leadership: Integrating strategy and leadership in colleges and universities. Rowman & Littlefield Publishers.
Robbins, S. P. (2003). Essentials of Organizational Behavior (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Robbins, S. P., & Coulter, M. (2007). Management (9th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Schrum, L., & Levin, B. B. (2015). Educational technologies and twenty-first century leadership for learning. International Journal of Leadership in Education, 19(1), 17-39. https://doi.org/10.1080/13603124.2015.1096078.
Sila, H. M., & Gichinga, L. (2016). Role of strategic leadership on strategy implementation in public universities in Kenya: A case study of JKUAT Main Campus. International Journal of Applied Educational Studies, 11, 14-32.
Williams, H. S., & Johnson, T. L. (2013). Strategic leadership in schools. Education, 133(3), 350–355.