การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโซนธานีหมี่ขิด สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อภิวัฒน์ จิระชาติ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • นพพงษ์ นพพงษ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, หลักธรรมาภิบาล, แนวทางการพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาและแนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโซนธานีหมี่ขิด สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และแบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามออนไลน์ Google Form ทางอีเมล์ คิดเป็นร้อยละ 100 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโซนธานีหมี่ขิด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ หลักความคุ้มค่า อยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ หลักการมีส่วนร่วม และหลักความโปร่งใส ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ หลักคุณธรรม 2. แนวทางพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา คือ สถานศึกษาต้องจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและบังคับใช้กฎระเบียบอย่างเท่าเทียม ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างด้านความซื่อสัตย์และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่บุคลากร มีระบบรายงานผลการดำเนินงานที่ทันสมัยและตรวจสอบได้ มอบหมายงานตามความสามารถและติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา และบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยระบบการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการกระจายการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

จิตรจรูญ ทรงวิทยา. (2561). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 3(1), 41–57.

ปาริฉัตร โชติขันธ์. (2560). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรวลี ตรีประภากร. (2564). สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ยุทธนา เกื้อกูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิรัตน์ พงษ์มิตร. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารของโรงเรียน ในสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุกฤตยา ปงกันทา. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุจินตนา ตรงประสิทธิ์. (2560). การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดปัตตานี. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สุพัตรา ศรีมาวงษ์. (2556). บทบาทภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารและครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อคีราภ์รัตน์ วรรณรัตน์ และเสาวนี ตรีพุทธรัตน์. (2557). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(4), 210-219.

อัจฉรา จงดี. (2560). การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรีระยองและตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Campbell, R. F., Corbally, J. E., Jr., & Ramseyer, J. A. (1971). Introduction to educational administration. Boston, MA: Allyn & Bacon.

Fayol, H. (1949). General and industrial management (C. Storrs, Trans.). London: Pitman & Sons.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational administration: Theory, research, and practice (6th ed.). New York: McGraw-Hill International Edition.

Sergiovanni, T. J. (1982). Ten Principles of Quality Leadership. Educational Leadership, 39(5), 330–336.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-06

How to Cite

จิระชาติ อ., & นพพงษ์ น. . (2025). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโซนธานีหมี่ขิด สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(1), 331–341. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1494