ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การมีส่วนร่วมของประชาชน, ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของประชาชน และประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวน 268 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ด้านการควบคุมองค์การให้สมดุล และด้านการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร ได้ร้อยละ 67.20 ยกเว้น ด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ ด้านการบริหารทรัพยากรองค์การ และด้านการสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วน
การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร ได้ร้อยละ 45.90 ยกเว้นการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
เกษมสันต์ พุ่มมณี. (2563). ประสิทธิผลของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมเข้า อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ขวัญใจ อับมา, สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง และละมัย ร่มเย็น. (2566). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(3), 61–82.
จิราพรรณ สุดลาภา, สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง และละมัย ร่มเย็น. (2565). วัฒนธรรมองค์การ และภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(3), 61–82.
ชนิดาภา ลีคำงาม. (2564). อิทธิพลของการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วาสนา วภักดิ์เพชร. (2563). อิทธิพลของการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจถ่ายโอนของเทศบาลตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วีระวัฒน์ ชาแสน และละมัย ร่มเย็น. (2566). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(3), 60–74.
สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุจิตรา สิงห์หันต์. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริการภาครัฐของส่วนราชการ ในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Boal, K. B. & Schultz, P. (2005). Organizations as complex adaptive social learning systems: The role of strategic leadership. The 65th Annual Meeting of the Academy of Management, Honolulu, HI.
Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, 8(3), 213-235.
Hitt, M. A., Hoskisson, R. E., & Ireland, R. D. (2007). Strategic Management-Competitiveness and Globalization: Concepts and Cases. Mason, OH: Thomson South-Western.