การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ผู้บริหาร, โรงเรียนเอกชนบทคัดย่อ
การบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เผชิญความท้าทายจากการพัฒนาด้าน ICT และสิทธิมนุษยชน โรงเรียนจึงต้องปรับตัวในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง โดยผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สร้างความสามัคคี และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนและความสำเร็จขององค์กรอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 140 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลผ่าน google form ทางอีเมล์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับทางการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดหนองบัวลำภู ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2. แนวทางพัฒนาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร คือ ควรพัฒนาระบบการรับฟังความคิดเห็น เช่น ทำแบบสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ ควรจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการเขียนและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน ควรพัฒนาระบบการจัดสรรผลตอบแทนที่เป็นธรรม สร้างเกณฑ์การพิจารณาผลตอบแทนที่ชัดเจนและโปร่งใส และควรพัฒนาระบบการประเมินผลแบบ 360 องศา ให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
References
ชัยอานนท์ แก้วเงิน. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เพ็ญพิศ ผาพองยุน. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสันตพล.
วิศรุต เพ็ชรสีม่วง และเพ็ญศรี สุขเสริม. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 124–138
สิทธิชัย อุตทาสา. (2562). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2562. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://ops.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ/.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อมรภัค ปิ่นกำลัง. (2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Best, J. W. & Kahn, J. V. (2006). Research in Education (10th ed.). Boston: Pearson Education Inc.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.