ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดน้ำหนักในยุคดิจิทัลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • วิธ นิธิศักดาเดช สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ผู้ประกอบการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • อัมภิณี ลาภสมบูรณ์ดี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประกอบการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสรเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

การตลาดดิจิทัล, ปัจจัยการตัดสินใจซื้อ, ผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดน้ำหนัก

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลสุขภาพ ปัญหาโรคอ้วนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้กลายเป็นความท้าทายสำคัญของสังคม ส่งผลให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพและการควบคุมน้ำหนักมากขึ้น งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ
การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดน้ำหนักในยุคดิจิทัลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นงานวิจัย เชิงปริมาณ และประยุกต์แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7Ps แนวคิดเกี่ยวกับการตลาดดิจิทัล แนวคิดและทฤษฎีการตัดสินใจซื้อ แนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร และแนวคิดเกี่ยวกับสมุนไพรลดน้ำหนัก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ได้มาจากกระบวนการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอนเริ่มจากการแบ่งโควตากลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนจำนวนประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 5 จังหวัด และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Snowball Sampling  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยนําข้อมูลที่ได้มาประมวลผลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ เพื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า เพศหญิงมีแนวโน้มตัดสินใจซื้อมากกว่าเพศชาย โดยปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7Ps ด้านการส่งเสริมการตลาด ลักษณะทางกายภาพ และราคา มีอิทธิพลเชิงบวก และด้านกระบวนการมีอิทธิพลเชิงลบ ส่วนปัจจัยทางการตลาดดิจิทัล ด้านสื่อสังคมออนไลน์ การปรับแต่งเว็บไซต์และการทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา (SEO/SEM) มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดน้ำหนักมากที่สุด

References

ทิพวรรณ อารียวงศ์สถิตย์ และกฤษฎา มูฮัมหมัด. (2563). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมการการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านขายยาของผู้บริโภคในจังหวัด นครนายก. อักษรเสียงการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563. 13 สิงหาคม 2563, หน้า 928-942. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ปรารถนา เอนกปัญญากุล, สุภินดา ศิริลักษณ์ และภัทรวีร์ ดามี. (2563). พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่มารับบริการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิชาการ ปขมท, 9(2), 76–90.

ธนัชพันธ์ มโนสิทธิศักดิ์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเวชภัณฑ์ยาของผู้ประกอบการร้านขายยาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 53 - 66.

ธีทัต ตรีศิริโชติ. (2566). ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาดออนไลน์และการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(6), 65-86.

วรรษมน สัจจพงษ์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อยาสมุนไพรและอาหารที่มีการแสดงสรรพคุณเป็นยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในอำเภอแห่งหนึ่งในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิริญญา เมืองช้าง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). แนวโน้มการตลาดดิจิทัลของไทยปี 2565-2566. กรุงเทพฯ: ธนาคารกสิกรไทย.

สาโรจน์ เพชรมณี, จินตนา เพชรมณี, ศราสรณ์ บรรจงเกลี้ยง, อัจฉรา ศรีแสง และศรัญญา สีทอง. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนชุมชนประตูช้างตก ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 4(2), 5-22.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2565). รายงานแนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). การประเมินผลกระทบของนโยบาย เศรษฐกิจต่อสวัสดิการของประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อารียา มั่นอ่วม และชิดตะวัน ชนะกุล. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 7(8), 134-142.

Bitner, M. J., & Booms, B. H. (1981). Deregulation and the future of the US travel agent industry. Journal of Travel Research, 20(2), 2-7.

Nielsen. (2023). Global Trust in Advertising Report. Nielsen.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

นิธิศักดาเดช ว., & ลาภสมบูรณ์ดี อ. (2025). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดน้ำหนักในยุคดิจิทัลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(1), 95–107. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1478