การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อสร้างเสริมความสามารถการคิดเชิงวิพากษ์ รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หน่วยเรียนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเสาหงษ์

Main Article Content

สุดารัตน์ มะลิชื่น
สิรภัทร จันทะมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเกมการศึกษา เพื่อสร้างเสริมความสามารถการคิดเชิงวิพากษ์ โดยศึกษาผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา และมีการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หน่วยเรียนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ โรงเรียนบ้านเสาหงษ์ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 23 คน ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยในชั้นเรียนเชิงปฏิบัติการ การทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เกมการศึกษา แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน แบบสังเกตการคิดเชิงวิพากษ์ แบบประเมินความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาเกมการศึกษา โดยมีประสิทธิภาพ ค่าเท่ากับ 80.87/81.52 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผู้เรียนมีค่าคะแนนทดสอบหลังเรียน x ̅=15.83,SD=1.19  สูงกว่าค่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน x ̅=11.74,SD=2.80 โดยมีค่า t คำนวณเท่ากับ 8.39 ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการสังเกตการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมผู้เรียนมีความสามารถการคิดเชิงวิพากษ์อยู่ในระดับดี  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.45 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า ร้อยละ 85 ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก x ̅=4.27,SD=0.44

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

Office of the Basic Education Commission. (2022). Basic Educational Plan 2023-2027 of the Office of the Basic Education Commission. Bangkok: Office of the Basic Education Commission. [In Thai].

Phokaew, K., Jeennoon, P. and Wirathammo, A. (2023). Development of Thai Analytical Reading Skills of Grade-Six Students Using 4 MAT Teaching Approach with Traditional Tales on “Sueb-Sarn Nithan Tai”. Journal of Teacher Professional Development, 4(3), 93-107. [In Thai].

Promotion of Educational Provision, Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3. (2023). Educational Information of Schools and Students in Academic Year 2023. Kanchanaburi: Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3. [In Thai].

Silarat, P. and Kaewpuang, P. (2024). Developing Conceptual Thinking Skill in Social Studies of Sixth Grade Students using Game-based Learning and Infographic Technique. Journal of Educational Research and Innovation Phranakhon Rajabhat University, 4(1), 26-41. [In Thai].

Sodprasert, S. (2019). 21st Century Skills: Learning Skills to Become the Professional Teacher. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 1(2), 1-12. [In Thai].

Sriwongchai, K. and Chumsukon, M. (2022). The Development of Creativity Thinking Skills Using Creative-Based Learning (CBL) with Card Game in the Course S13101 Social Studies of Grade 3 Students at Wang Kan Lueang Darunkit School. R. M. J. Journal, 16(3), 161-170. [In Thai].

Suksai, J., Phruttikul, S. and Thongson, P. (2021). The Development of Learning Achievement and Attitude towards Major Buddhists for Matthayomsuksa 2 by using Game Based on Brain-based Learning (BBL). Journal of Education Naresuan University, 23(3), 92-102. [In Thai].

Sutcha, S. and Tungkasamit, A. (2024). The Study of Logical Thinking Ability using Ariyasacca Based Learning with Card Games in the Subject S16101 Social Studies of Grade 6 Students at Chumchonyodkaengsongkro School, Kalasin Province. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 11(1), 447-460. [In Thai].

Prateep Na Thalang, W., Kachadphai, P., Jantima, Y. and Supawarangkul, N. (2023). The Development of Buddhism Courses Learning Achievement of Matthayomsuksa 5 Students by Etiquette for Student Model (EQFS Model). Journal of Teacher Professional Development, 2(3), 89-100. [In Thai].