การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

ผู้แต่ง

  • กฤติยา เกิดผล ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
  • สุภัททา ปิณฑะแพทย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ธีรวุฒิ บุณยโสภณ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

รูปแบบความร่วมมือ, ภาครัฐและเอกชน, อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และเพื่อจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน การวิจัยใช้เทคนิคเดลฟายโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน และการประชุมสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าฐานนิยม ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสำคัญของรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบด้วย 3 มิติ 8 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ มิติที่ 1 บทบาทภาครัฐ มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายของภาครัฐ ประกอบด้วย กระบวนการกำหนดนโยบาย และการปฏิบัติตามนโยบาย 2) ระบบการทำงานของภาครัฐประกอบด้วย การจัดการองค์กร การติดตามผลงาน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และ 3) การสนับสนุนของภาครัฐ ประกอบด้วย ด้านแหล่งข้อมูล ด้านแหล่งเงินทุน และด้านการแข่งขันทางการตลาด มิติที่ 2 บทบาทร่วมภาครัฐและภาคเอกชน มี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 4) การประสานงาน ประกอบด้วย กลไกการสื่อสารด้วยดิจิทัล และการสร้างความร่วมมือ 5) การมีส่วนร่วมประกอบด้วย การพัฒนาผู้ประกอบการ และการกำหนดมาตรการและข้อบังคับ และมิติที่ 3 บทบาทภาคเอกชน มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 6) การเตรียมพร้อมของภาคเอกชน ประกอบด้วย การจัดการความรู้ และการสร้างศักยภาพองค์กร 7) การดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนประกอบด้วย การบริหารงาน จรรยาบรรณ และนวัตกรรมการผลิต 8) ระบบปฏิบัติการเชิงรุก ประกอบด้วย ผู้นำการเปลี่ยนแปลง การสร้างโอกาสทางธุรกิจ และการสร้างระบบเครือข่าย รูปแบบและคู่มือแนวทางทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเป็นเอกฉันท์ในด้านความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในระดับมาก

References

Department of Trade Negotiation. (2022). Value of Exports of Processed Fruits and Vegetables 2022. https://ditp.go.th/ewt_news_ditp2.pdf (In Thai).

Office of The National Economics and Social Development Council. (2018). National Strategy (2018–2037). https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf (In Thai).

Patthirasinsiri, N., & Ungkanawin, K. (2018). Small and Medium Enterprises (SMEs) Business Development Model That Affects the Success in Muang, Chonburi Province. Journal of The Association of Researchers, 23(3), 151–164. (In Thai).

Settachinda, T. (2018). Way to Support the Cooperation Between Government Sector and Private Sector to Boost The Effectiveness of Small and Medium-Sized Enterprises in Thailand [Unpublished Master’s Thesis]. National Defence College. (In Thai).

Tonwan, S., & Boonkong, R. (2023). Development Potential for Operations Enhancing Competitive Advantage to SME Firms and The Adoption of Logistics in Sakon Nakhon Province. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 42(3), 763–779. (In Thai).

Chantarotorn, N. (2019). The Strategy of Modern Organization Management Administration. Journal of Technical Education Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 7(2), 60–70. (In Thai).

Inchan, R., & Simmonds, P. (2017). Public Sector Administration. Rajabhat Maha Sarakham University. (In Thai).

Thongyad, P., Sutthisai, W., Soonthorn, S., & Chatreewisit, R. (2022). The Role Model of The Government and Private Sectors in Promoting Agricultural Trade: Case Study of Fruit Trade in The Upper South of Thailand. Journal of Modern Learning Development, 7(2), 77–91. (In Thai).

Piyanantisak, P. (2018). Public-Private Partnership in Sustaining Thailand’s Food Industry Development. Humanities & Social Sciences, 35(1), 196–218. (In Thai).

Rimcharone, E., & Photchanachan, S. (2022). Entrepreneurial Competency of Agro-Industrial Entrepreneurs in Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 8(1), 33–49. (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-29

How to Cite

เกิดผล ก., ปิณฑะแพทย์ ส., & บุณยโสภณ ธ. (2025). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 5(1), 33–47. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/815