วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid <p>Print ISSN : 2985-2242 Online ISSN : 2985-2250 </p> <p>กำหนดออก : 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> <p>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความในด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านการบริหารจัดการองค์กรในภาครัฐและเอกชน และด้านอุตสาหกรรมสัมพันธ์</p> th-TH Journal@bid.kmutnb.ac.th (Asst. Prof. Dr. Supakorn Charoenprasit) Journal@bid.kmutnb.ac.th (Phannarot Tosakul) Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/1410 ศุภกร เจริญประสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/1410 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพการให้บริการของพนักงานขายที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าศูนย์การค้าสุพรีม ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/358 <p>The objectives of this research were to 1) study customers’ behavior in using services, 2) study customers’ opinion regarding service quality, 3) study customers’ decision for choosing services in shopping center, 4) compare customers’ behavior of using different services leading to choose shopping center, and 5) study the service quality of sales staff affecting the decision in choosing the service of customers in shopping center. The sample in this study were 400 customers using the service in Supreme Shopping Center, using a questionnaire as a tool to collect data. The statistics for analyzing the collected data were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Multiple Regression Analysis. As results found that 1) most of customer’s intended to use services in restaurant, search information channel via internet, receive better service than general department stores, use services for price value, get service for 6-7 time per month, recommend persons at work to use services, value in service, and keep continue using the restaurant service; 2) the opinion level regarding service quality of sales staff in the overall were at high level; 3) the decision level in choosing services of customer in shopping center in the overall were at high level; 4) the behavior comparison of using services classified by different ate customer’s intention for using service in restaurant, search information channel, better service than general department stores, using service for creating value, frequency of using service, recommending the others to use the service, and continuous using the restaurant, have decision in choosing service in difference; and 5) The service quality of sales staff in aspect of concreteness of service, reliability or trustworthiness, and confidence affecting the decision to choose the services with statistical significance at the .05 level.</p> นันทวัน สังข์โสม , เชฐธิดา กุศลาไสยานนท์, จุฑารัตน์ ปิณฑะแพทย์ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/358 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดลำดับความสำคัญข้อบกพร่องด้วยกระบวนการลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์แบบคลุมเครือ: กรณีศึกษาโรงงานสิ่งพิมพ์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/597 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการเสนอแนวทางการจัดลำดับความสำคัญของข้อบกพร่องเพื่อนำไปสู่การแก้ไข ประยุกต์ใช้ในกรณีศึกษาบริษัทงานพิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ โดยใช้กระบวนการลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์แบบคลุมเครือ (Fuzzy Analytic Hierarchy Process :FAHP) ภายใต้แนวคิดการประเมินความเสี่ยง FMEA (Failure Mode and Effect Analysis :FMEA) ในข้อกำหนดของมาตรฐานของ IATF 16949 ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยใช้เกณฑ์จาก AIAG&amp;VDA FMEA Handbook ได้แก่ความรุนแรง (Severity: S) โอกาสเกิดข้อบกพร่อง (Occurrence: O) และการตรวจจับข้อบกพร่อง (Detection: D) และ เกณฑ์ตัดสินใจรอง ได้แก่ สาเหตุการเกิดข้อบกพร่องจาก 4M (Man, Machine, Method, Material) และสาเหตุการเกิดข้อบกพร่องจาก 1E (Environment) เริ่มจากรวบรวมข้อมูลการเกิดของเสีย เลือกของเสียหรือข้อบกพร่องมาจัดลำดับโดยใช้เกณฑ์ S, O, D ด้วย FAHP ผู้ตัดสินใจเป็นผู้ร่วมประชุมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จำนวน 20 ท่าน จากหลากหลายหน่วยงาน นำผลลัพธ์ที่ได้เปรียบเทียบกับวิธีการเดิมของบริษัท ได้แก่วิธี Risk Priority Number (RPN) และวิธี Action Priority (AP) พบว่าผลลำดับความสำคัญของข้อบกพร่องแตกต่างกันเล็กน้อย โดยวิธี FAHP ให้ผลลัพธ์ที่ได้รับการยอมรับมากกว่าเมื่อเทียบกับวิธีเดิม จากการคำนึงถึงน้ำหนักของเกณฑ์ และความคลุมเครือในการตัดสินใจของทีมงาน งานวิจัยนี้เน้นการประยุกต์ใช้เครื่องมือช่วยตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision Making) มีหลายหน่วยงานทำงานร่วมกันเป็นทีมงานข้ามสายงานภายในองค์กร (Cross Functional Team) แต่ละหน่วยงานคิดเห็นแตกต่างกันแต่ต้องตัดสินใจในเรื่องเดียวกัน เมื่อนำ FAHP มาช่วยในการตัดสินใจ ส่งผลให้ข้อสรุปได้รับการยอมรับมากขึ้น ลดการตัดสินใจแบบมีอคติ ลดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน ในงานวิจัยพัฒนา Excel template ขึ้น ช่วยลดเวลาคำนวณและประมวลผลขั้นตอนที่ซับซ้อน สามารถวิเคราะห์และสรุปผลได้อย่างแม่นยำ รวดเร็วขึ้น</p> ลงเอย บูรณะเสน, กนกพร ศรีปฐมสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/597 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการสื่อสารด้านการตลาดของผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมเครื่องเหล็กและเครื่องมือของประเทศไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/677 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการสื่อสารด้านการตลาดของผู้ประกอบการ SMEs ใน อุตสาหกรรมเครื่องเหล็ก และ เครื่องมือของประเทศไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 2) พัฒนารูปแบบการสื่อสารด้านการตลาดของผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมเครื่องเหล็กและเครื่องมือของประเทศไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และ 3) สร้างคู่มือแนวทางการพัฒนาการสื่อสารด้านการตลาดของผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมเครื่องเหล็กและเครื่องมือของประเทศไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคเดลฟาย มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 24 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม 14 คน และ ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคู่มือ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ (IQR) และ การวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสื่อสารด้านการตลาดของผู้ประกอบการของผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมเครื่องเหล็กและเครื่องมือของประเทศไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ด้านการส่งเสริมการขาย มี 3 องค์ประกอบรอง คือ 1.1 การให้ส่วนลดจากราคาปกติ 1.2 การให้บริการหลังการขาย และ 1.3 การแจกสินค้าตัวอย่างเพื่อให้ทดลองใช้ 2) ด้านการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ มี 3 องค์ประกอบรอง คือ 2.1 ผ่าน Social Media 2.2 ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ และ 2.3 ผ่าน Website องค์กร 3) ด้านการสื่อสารโดยพนักงานขาย มี 4 องค์ประกอบรอง คือ 3.1 การให้ข้อมูลทางการขาย 3.2 การตอบข้อซักถามเกี่ยวกับสินค้าและบริการ 3.3 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า และ 3.4 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดพิเศษ 4) ด้านการให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ มี 2 องค์ประกอบรอง คือ 4.1 การเขียนบทความผ่านสื่อต่าง ๆ และ 4.2 การเผยแพร่ข่าวสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ 5) ด้านการสื่อสารการตลาดทางตรง มี 3 องค์ประกอบรอง คือ 5.1 ผ่านทางอีเมล 5.2 ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และ 5.3 ผ่านโชว์รูมแสดงสินค้า รูปแบบและคู่มือแนวทางได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเป็นเอกฉันท์ในด้านความเหมาะสมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการสื่อสารด้านการตลาดของผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมเครื่องเหล็กและเครื่องมือของประเทศไทยได้</p> พันธ์ศักดิ์ สมในธรรม, สมนึก วิสุทธิแพทย์, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, สุชาติ เซี่ยงฉิน Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/677 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพยากรณ์ความต้องการแรงงานในอาชีพงานพื้นฐาน โดยใช้เทคนิคห่วงโซ่มาร์คอฟ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/776 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหารูปแบบของการพยากรณ์ด้วยตัวแบบห่วงโซ่มาร์คอฟของข้อมูลจำนวนความต้องการแรงงานในอาชีพงานพื้นฐานของตลาดแรงงานในประเทศไทย ด้วยการนำข้อมูลจากจำนวนความต้องการแรงงานในอดีตมาทำการวิเคราะห์ลักษณะของข้อมูลเพื่อสร้างตัวแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุด โดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานถึงจำนวนความต้องการแรงงานและจำนวนผู้ลงทะเบียนสมัครงานโดยจำแนกตามอาชีพในประเทศไทยตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2559 จนถึงธันวาคม พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้นเป็น 96 เดือน พบว่าในอาชีพงานพื้นฐานนั้นมีความขาดแคลนบุคลากรสูงที่สุดซึ่งคิดเป็นร้อยละ 43.08 ของความขาดแคลนบุคลากรทั้งหมดที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการสร้างแบบจำลองที่ใช้ในการพยากรณ์ความต้องการแรงงานในอาชีพงานพื้นฐานของตลาดแรงงานในประเทศไทย เพื่อนำมาวางแผนการผลิตบุคลากรและกำลังแรงงานของธุรกิจให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลความขาดแคลนแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป เนื่องจากทั่วโลกมีสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรม ผู้วิจัยจึงแบ่งชุดข้อมูลออกเป็น 2 ชุด เพื่อทำการพยากรณ์เปรียบเทียบระหว่างข้อมูลทั้ง 2 ชุด โดยข้อมูลชุดที่ 1 มีขนาดข้อมูลเป็น 96 เดือน และข้อมูลชุดที่ 2 มีขนาดข้อมูลเป็น 48 เดือน โดยในแต่ละชุดข้อมูลจะประกอบไปด้วยตัวแบบจำลองในการพยากรณ์ด้วยห่วงโซ่มาร์คอฟเพื่อวิเคราะห์หาจำนวนความต้องการแรงงานทั้งหมด 5 ตัวแบบ จำนวน 3 ช่วงเวลา (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ถึงพ.ศ. 2566) และกำหนดจำนวนอันตรภาคชั้นเป็น 10, 15, 20, 25 และ 30 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในแต่ละชุดข้อมูลพบว่าข้อมูลชุดที่ 1 มีค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยที่สูงกว่าข้อมูลชุดที่ 2 เนื่องจากข้อมูลชุดที่ 1 มีลักษณะผันผวนโดยจำนวนความต้องการแรงงานในช่วงแรกต่ำและเมื่อเวลาผ่านไปจึงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้การพยากรณ์ ณ ชุดข้อมูลดังกล่าวให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยสูงซึ่งแตกต่างจากข้อมูลชุดที่ 2 ที่มีลักษณะผันผวนน้อยกว่าโดยจำนวนความต้องการแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับจึงทำให้การพยากรณ์ ณ ชุดข้อมูลดังกล่าวให้ค่า เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยต่ำกว่า อีกทั้งการแบ่งอันตรภาคชั้นที่ระดับแตกต่างกันมีผลทำให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยที่แตกต่างกันด้วย โดยเมื่อทำการแบ่งอันตรภาคชั้นที่เพิ่มขึ้นพบว่าค่าความแม่นยำจะดีขึ้นตามลำดับ โดยอันตรภาคชั้นที่ดีที่สุดสำหรับข้อมูลทั้ง 2 ชุดนี้มีค่าเท่ากับ 30 อันตรภาคชั้น โดยข้อมูลชุดที่ 1 มีค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยเท่ากับ 17.84% และสำหรับข้อมูลชุดที่ 2 มีค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยเท่ากับ 9.44%</p> บุณณดา เกษรอุบล, เปรมพร เขมาวุฆฒ์ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/776 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างราคาบิตคอยน์ที่มีต่อทองคำ อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐต่อเงินบาท และ ดัชนี SET100 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/771 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของราคาบิตคอยน์ที่มีต่อทองคำ อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐต่อเงินบาทและ ดัชนี SET100 การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการตรวจสอบและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างราคาบิตคอยน์ที่มีต่อทองคำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้น โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป AMOS วิเคราะห์อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐต่อเงินบาทและดัชนี SET100 ว่ามีความสอดคล้องและกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบรายวัน ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2561 ถึง 30 ธันวาคม 2565 จากเว็บไซต์ Investing.com ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ราคาบิตคอยน์ที่มีต่อทองคำ อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐต่อเงินบาทและ ดัชนี SET100 ความสอดคล้องและกลมกลืนกัน ทั้งนี้งานวิจัยพบว่า 1) ราคาบิตคอยน์มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อทองคำ (TE = 0.64) และมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่ออัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐต่อเงินบาท (TE = 0.16) ขณะที่ราคาบิตคอยน์มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อ ดัชนี SET100 โดยมีค่า Chi-square = 3.803, df = 2, P = 0.149, CMIN/DF = 1.901, GFI = 0.998, RMSEA = 0.027 สอดคล้องกับข้อสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2) พบว่าราคาบิตคอยน์มีค่าน้ำหนักที่ส่งผลต่อทองคำอยู่ที่ 0.64 โดยสามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของตัวแปร หรือมีความแม่นยำอยู่ที่ร้อยละ 0.4 (R2 = 0.41) ราคาบิตคอยน์มีค่าน้ำหนักที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐต่อเงินบาทอยู่ที่ 0.16 โดยสามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของตัวแปร หรือมีความแม่นยำอยู่ที่ร้อยละ 0.03 (R2 = 0.03) และราคาบิตคอยน์มีค่าน้ำหนักที่ส่งผลต่อดัชนี SET100 อยู่ที่ -0.20 โดยสามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของตัวแปร หรือมีความแม่นยำอยู่ที่ร้อยละ 0.04 (R2 = 0.04)</p> สรวงอัยย์ อนันทวิจักษณ์, ประกอบศิริ ภักดีพินิจ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/771 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/908 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และเพื่อพัฒนาเป็นรูปแบบและคู่มือแนวทางการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน (2) กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามจำนวน 428 คน จากกลุ่มประชากร คือ ผู้ประกอบการ ผู้บริหารระดับสูง ตั้งแต่ระดับผู้จัดการขึ้นไปหรือเทียบเท่า และที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ในการด้านการบริหารและประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนกระทรวงพาณิชย์ในประเทศไทย โดยคำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane (3) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 16 คน และ (4) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญประเมินคู่มือจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม และแบบประเมินคู่มือ สถิติที่ใช้ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล มีองค์ประกอบหลัก จำนวน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การวางแผนและบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ องค์ประกอบที่ 2 การบริหารจัดการและทรัพยากรบุคคล องค์ประกอบที่ 3 การบริหารตลาดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับคู่มือแนวทางการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดในด้านรูปเล่ม เนื้อหา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริง</p> จีระภา พรรณขรรค์, สักรินทร์ อยู่ผ่อง, อัคครัตน์ พูลกระจ่าง Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/908 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การลดต้นทุนในกระบวนการฉีดพลาสติกชิ้นส่วนเครื่องปริ้นเตอร์โดยประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลอง https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/911 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนบริษัท AAA จำกัด เป็นโรงงานผลิตปริ้นเตอร์และสแกนเนอร์ที่มีคุณภาพสูงแห่งหนึ่ง ปัจจุบันบริษัทมีปัญหาของเสียในกระบวนการฉีดชิ้นงานพลาสติกเป็นจำนวนมากเฉลี่ยร้อยละ 3 จากการวิเคราะห์ลักษณะของเสียแบ่งได้ 7 ลักษณะได้แก่ ชิ้นงานเกิดครีบ ชิ้นงานมีรอยดำ ชิ้นงานมีรอยไหม้ ชิ้นงานมีจุดยุบ ชิ้นงานโก่งงอ ชิ้นงานเกิดรอยร้าว ชิ้นงานมีรอยประสาน มีปัจจัยที่สำคัญ 4 ปัจจัยได้แก่ อายุของแม่พิมพ์ โครงสร้างแม่พิมพ์ ประสิทธิภาพของเครื่องจักร อุณหภูมิในการหลอมพลาสติก ผู้วิจัยนำปัจจัยมาออกแบบการทดลองแฟกทอเรียล 24 ได้การทดลองทั้งหมด 16 แบบ ผลจากการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ พบว่า ปัจจัยที่มีส่งผลกระทบให้เกิดของเสียมีจำนวน 3 ปัจจัย คือ 1. อายุของแม่พิมพ์ 2. ประสิทธิภาพของเครื่องฉีดพลาสติก 3. อุณหภูมิในการหลอมพลาสติก และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันมีทั้งหมด 2 คู่ คือ 1.อายุแม่พิมพ์กับประสิทธิภาพของเครื่องจักร 2. อายุแม่พิมพ์กับอุณหภูมิในการหลอมพลาสติก โดยการทดลองที่ดีที่สุด คือ อายุแม่พิมพ์ 3 ปี โครงสร้างของแม่พิมพ์แบบ 2 ชิ้น ประสิทธิภาพของเครื่องจักรร้อยละ 95 และอุณหภูมิในการหลอมเหลวที่ 300 องศาเซลเซียส หลังจากทำการปรับปรุงกระบวนการผลิตมียอดการสั่งผลิตชิ้นงานในไตรมาสแรกของปี 2567 จำนวน 49,800 ชิ้น มีปริมาณของเสียที่เกิดจากปัญหาชิ้นงานเกิดจุดดำและชิ้นงานเกิดครีบจำนวน 653 ชิ้น คิดเป็นมูลค่าของเสียรวมทั้งสิ้น 18,284 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.3 จากการเปรียบเทียบข้อมูล พบว่าหลังจากการปรับปรุงกระบวนการฉีดพลาสติกสามารถลดปริมาณของเสียลงได้คิดเป็นร้อยละ 56.67 บริษัทสามารถลดต้นทุนของเสียจากปัญหาชิ้นงานเกิดจุดดำและชิ้นงานเกิดครีบลงได้ปีละ 168,775 บาท</p> พรเทพ แก้วเชื้อ, วุฒิเชษฐ หวังมาน Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/911 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยึดมั่นผูกพันในงานของพนักงานโรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ระดับ 4 ดาว และ 5 ดาวในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/1044 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การ ความภาคภูมิใจแห่งตนเชิงสัมพันธ์กับหัวหน้างาน และการรับรู้ความสามารถแห่งตนทางอาชีพ กับความยึดมั่นผูกพันในงาน และ 2) อำนาจการทำนายร่วมกันของตัวแปรอิสระ 3 ตัวแปร ที่มีต่อความยึดมั่นผูกพันในงาน กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานประจำคนไทยในระดับปฏิบัติการจำนวน 186 คน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ระดับ 4 และ 5 ดาวในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 6 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การ ความภาคภูมิใจแห่งตนเชิงสัมพันธ์กับหัวหน้างาน และการรับรู้ความสามารถแห่งตนทางอาชีพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความยึดมั่นผูกพันในงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .494, r = .429 และ r = .531 ตามลำดับ) และ 2) การรับรู้ความสามารถแห่งตนทางอาชีพและความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การสามารถร่วมกันทำนายความยึดมั่นผูกพันในงานได้ร้อยละ 36.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 อย่างไรก็ตามความภาคภูมิใจแห่งตนเชิงสัมพันธ์กับหัวหน้างานไม่สามารถทำนายความยึดมั่นผูกพันในงานได้</p> สุรินทร์ ชุมแก้ว, รภัสศักย์ เหตุทอง, กนกพร รุจิระยรรยง, นฤมล สีหนู, ภัสราพร ฤทธิร่วม , สุภาวดี เพียรกล้า Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/1044 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 Exploring Thai Consumer Insights in the Gunpla Model Market https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/1210 <p>Gundam Plastic models, known as “Gunpla,” are popular model kits inspired by characters from the Japanese animation series Mobile Suit Gundam. Over the past four decades, Gunpla has evolved from simple plastic toys into highly sought-after collectibles, gaining popularity among enthusiasts worldwide, including in Thailand. Drawing on Consumer Culture Theory (CCT), this research explores Thai customer’s insight in order to understand factors influencing their purchase decision, attitude towards current business model employed by sellers, and potential business expansion or direction of Gunpla model market. Through semi-structured interviews with 11participants, this qualitative study investigates key factors influencing collectors, such as emotional connections to the Gundam anime series, preferences for specific model designs and scales, and customization activities post-purchase. Research Findings reveal that most participants favor the MG (1/100) scale for its balance of size and detail, while purchasing is influenced by convenience, with most collectors opting for independent retailers or online platforms over official stores. The study also highlights dissatisfaction with reselling practices due to price markups, which is seen as exploitative by genuine collectors. Customization activities, including painting and modifying models, are popular among collectors, further enhancing their emotional investment in the hobby. Insights from this research can inform marketing strategies for retailers by emphasizing customer engagement, community-building efforts, and addressing issues related to reselling.</p> Tanakorn Chinpaisal, Chaiyasak Chaipunha, Achareeya Robkit Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/1210 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700