วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid <p>Print ISSN : 2985-2242 Online ISSN : 2985-2250 </p> <p>กำหนดออก : 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> <p>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความในด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านการบริหารจัดการองค์กรในภาครัฐและเอกชน และด้านอุตสาหกรรมสัมพันธ์</p> Faculty of Business and Industrial Development, King Mongkut's University of Technology North Bangkok. th-TH วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม 2985-2242 บทบรรณาธิการ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/804 ศุภกร เจริญประสิทธิ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 4 1 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับคุณภาพของงานซ่อมบำรุงรักษาไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/800 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงาน 2) คุณภาพในงานซ่อมบำรุงรักษาไฟฟ้าของพนักงาน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับคุณภาพในงานซ่อมบำรุงรักษาไฟฟ้าของพนักงาน การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ประชากรในการศึกษาเชิงปริมาณนี้ ได้แก่ วิศวกร และพนักงานระดับปฏิบัติการ ในฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และค่าความสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีอายุงาน 21 ปีขึ้นไป ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ องค์ประกอบด้านมีสติรู้ตัวและด้านความเปิดรับประสบการณ์ องค์ประกอบที่อยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับ ได้แก่ องค์ประกอบด้านความไม่เสถียรทางอารมณ์ องค์ประกอบด้านความยินยอมเห็นใจ และองค์ประกอบด้านความกล้าแสดงออก ด้านคุณภาพในงานของพนักงาน พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริหารการบำรุงรักษา คุณภาพที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการตอบสนองความต้องการลูกค้า คุณภาพที่อยู่ในระดับน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านความสามารถในการควบคุมอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ กับคุณภาพของงานในภาพรวม พบว่า ทั้งสองปัจจัยมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05</p> ศันสนีย์ จุลเกษม ธีระวุฒิ วิบูลย์จันทร์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 4 1 1 6 การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าวัตถุดิบและการพัฒนาคำสั่งซื้อ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/801 <p>การศึกษา เรื่อง การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าวัตถุดิบและการพัฒนาคำสั่งซื้อ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสินค้าคงคลังของบริษัทฯ 2) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านการจัดการคำสั่งซื้อวัตถุดิบของบริษัทฯ เป็นการศึกษาในเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากปัญหาที่เกิดขึ้น สัมภาษณ์และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาในส่วนของขั้นตอนการสั่งซื้อ เกิดจากเมื่อมีความต้องการสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม จะอ้างอิงการคำนวณโดยใช้ประสบการณ์ของช่างเป็นหลัก และไม่มีการตรวจสอบการคำนวณก่อนทำการสั่งซื้อ ทำให้เกิดปัญหา ในส่วนปัญหาด้านการจัดการสินค้าคงคลังเกิดจากกระบวนการทำงานด้านการรับเข้าและจัดเก็บวัตถุดิบภายในคลังสินค้าจึงขาดการตรวจนับเข้าสู่คลังอุปกรณ์ การจัดเก็บวัตถุดิบเข้าสู่คลังสินค้าขาดการจัดทำเอกสาร และการจัดเรียงตามการใช้งานที่เหมาะสม ส่งผลให้เสียเวลาในการตรวจนับวัตถุดิบใหม่ทุกครั้งที่จะต้องทำการสั่งซื้อ ทำให้ระยะเวลาในการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น เวลารอคอยวัตถุดิบก็จะเพิ่มขึ้นไปด้วย ผลสรุปได้ว่า การประยุกต์ใช้โปรแกรมช่วยคำนวณมีส่วนช่วยพัฒนาปรับปรุงคำสั่งซื้อได้จริง ผู้ศึกษาจึงได้มีการจัดทำองค์ความรู้วิธีการใช้งานโปรแกรมสู่องค์กร และด้านการจัดการสินค้าคงคลังได้มีการวัดผล โดยนำทฤษฎีการกำหนดเวลามาตรฐานมาประยุกต์ใช้ โดยใช้เปรียบเทียบระยะเวลาในการทำงาน โดยผลสรุปจากการเปรียบเทียบดังกล่าว พบว่าเวลาเฉลี่ยมาตรฐานในการทำงานลดลงถึง 36.43% จึงสามารถกล่าวได้ว่าผลการปรับปรุงดังกล่าวส่งผลให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น</p> กรกมล แสนสุข ธวัลรัตน์ แพพิพัฒน์ ศุภกร เจริญประสิทธิ์ สมชาย เปรียงพรม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 4 1 17 30 ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรกับพฤติกรรมบ่งชี้ความคงอยู่ของพนักงานในธุรกิจการบินของประเทศไทย https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/802 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรของพนักงานในธุรกิจการบินของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมบ่งชี้ความคงอยู่ของพนักงานในธุรกิจการบินของประเทศไทย 3) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรของพนักงานระหว่างกลุ่มที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันในธุรกิจการบินของประเทศไทย 4) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมบ่งชี้ความคงอยู่ของพนักงานระหว่างกลุ่มที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันในธุรกิจการบินของประเทศไทย และ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรกับพฤติกรรมบ่งชี้ความคงอยู่ของพนักงานในธุรกิจการบินของประเทศไทยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานประจำที่ปฏิบัติงานภาคพื้นดินและบนอากาศยานในธุรกิจการบินของประเทศไทย ประกอบด้วย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด และบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรของพนักงานในธุรกิจการบินของประเทศไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ระดับพฤติกรรมบ่งชี้ความคงอยู่ของพนักงานในธุรกิจการบินของประเทศไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตาม สถานภาพ และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานกับสายการบินที่แตกต่างกัน พนักงานมีระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตาม อายุ สถานภาพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานกับสายการบินที่แตกต่างกัน พนักงานมีระดับพฤติกรรมบ่งชี้ความคงอยู่โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรกับพฤติกรรมบ่งชี้ความคงอยู่ของพนักงานโดยรวม อยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> อาทิมา ศรีวังพล จุฑารัตน์ ปิณฑะแพทย์ เชฐธิดา กุศลาไสยานนท์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 4 1 31 46 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการกับความพึงพอใจในการใช้บริการห้องรับรองพิเศษของสายการบินภายในประเทศ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/341 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการห้องรับรองพิเศษของสายการบินภายในประเทศ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการของห้องรับรองพิเศษของสายการบินภายในประเทศ 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้ห้องรับรองพิเศษของสายการบินภายในประเทศจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพการให้บริการกับความพึงพอใจในการใช้ห้องรับรองพิเศษของสายการบินภายในประเทศ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้โดยสารที่เข้าใช้บริการห้องรับรองพิเศษของสายการบินภายในประเทศ จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ANOVA และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้โดยสารมีความพึงพอใจในการใช้บริการห้องรับรองพิเศษของสายการบินภายในประเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ความสามารถของลูกค้าที่จะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับบริการ ส่วนความสะดวกในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ความพอเพียงของบริการ มีค่าเฉลี่ยรองลงมาตามลำดับ และน้อยที่สุดได้แก่ การเข้าถึงแหล่งบริการ 2) คุณภาพการให้บริการของห้องรับรองพิเศษในสายการบินภายในประเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า ส่วนความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ การเข้าใจลูกค้า ความเป็นรูปธรรมของการบริการ มีค่าเฉลี่ยรองลงมาตามลำดับ และน้อยที่สุดได้แก่ การตอบสนองต่อลูกค้า 3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพ ไม่พบความแตกต่างต่อความพึงพอใจในการใช้บริการห้องรับรองพิเศษของสายการบินภายในประเทศ ส่วนรายได้ต่อเดือน พบว่ามีความแตกต่างต่อความพึงพอใจในการใช้บริการห้องรับรองพิเศษของสายการบินภายในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ต่อเดือน 20,001–30,000 บาท มีความพึงพอใจในการใช้ห้องรับรองพิเศษของสายการบินภายในประเทศ มากกว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท เมื่อวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า 4) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณภาพการให้บริการ ประกอบด้วย ความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า และการเข้าใจลูกค้า มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในการใช้ห้องรับรองพิเศษของสายการบินภายในประเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> พิมพ์ตะวัน วงศ์ซิ้ม ธัญญาทิพ พิชิตการค้า วิเชียร เกตุสิงห์ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 4 1 47 62 การเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนจัดซื้อวัตถุดิบหน่วยงาน Procurement แผนก Logistics กรณีศึกษา : บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี จ.ชลบุรี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/803 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ 2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ จากการศึกษากระบวนการวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบปัญหาที่พบคือจำนวนของสินค้าคงคลังประเภทวัตถุดิบเพื่อใช้ผลิตชิ้นส่วนประกอบ (Component Part) ที่บันทึกในระบบ SAP. กับจำนวนที่ตรวจนับจริงไม่ตรงกัน ส่งผลให้การวางแผนจัดซื้อวัตถุดิบมีความคาดเคลื่อนทำให้เกิดปัญหาการจัดซื้อวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการผลิตทำให้ไลน์การผลิตต้องหยุดรอ คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษากระบวนการวางแผนการจัดซื้อและเก็บข้อมูลก่อนการปรับปรุงช่วงเวลา 2 เดือน พบว่าไลน์การผลิตมีการหยุดรอวัตถุดิบจำนวน 15 ครั้ง จากนั้นได้นำโปรแกรม Microsoft Excel มาประยุกต์ใช้สำหรับการช่วยตรวจสอบและติดตามการเคลื่อนไหวของจำนวนวัตถุดิบของชิ้นส่วนประกอบ เพื่อให้ทราบจำนวนสินค้าคงคลังตรงกับยอดตรวจนับหน้างานจริงหรือไม่ จำนวนการใช้แต่ละวัน จำนวนการรับ ตลอดจนทำให้รู้ล่วงหน้าว่าวันไหนที่อาจจะมีวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการผลิต ซึ่งจะช่วยให้มีเวลาได้แก้ไขปัญหาหากเกิดขึ้น ผลการวิจัยพบว่าหลังจากนำโปรแกรม Microsoft Excel มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบและติดตามการเคลื่อนไหวจำนวนของวัตถุดิบจำนวนครั้งการหยุดไลน์ผลิตเพื่อรอวัตถุดิบลดลงจากเดิม 15 ครั้งเหลือ 3 ครั้ง ลดลงร้อยละ 80 สามารถ<br>ช่วยลดปัญหาการจัดซื้อวัตถุดิบที่ไม่เพียงพอต่อการผลิตและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ<br>ของชิ้นส่วนประกอบได้จริง</p> มานะ ขาวเงิน รชต พานิช วงศกร เสริมศรี Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 4 1 63 76 การพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้จัดการโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมือง https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/357 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบศักยภาพผู้จัดการโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมือง 2) พัฒนารูปแบบศักยภาพผู้จัดการโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมือง และ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้จัดการโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมือง การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้บริหารองค์การและบุคลากรในอุตสาหกรรมก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมือง โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 405 คนจากการสุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้จัดการโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมือง ประกอบด้วย 2 ส่วนประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย ส่วนประกอบหลักแรกคือ ด้านปฏิบัติงาน มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ความรู้ในงานที่รับผิดชอบ 2) ความสามารถในงานที่รับผิดชอบ 3) ภาวะผู้นำ ส่วนประกอบหลักที่สองคือ ด้านบริหารโครงการ มี 9 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4) การบริหารทีมงาน 5) การบริหารต้นทุน 6) การบริหารคน 7) การบริหารตามแผนงาน 8) การบริหารเวลา 9) การบริหารคุณภาพงาน 10) การบริหารตามเงื่อนไขโครงการ 11) การบริหารงานกลุ่มสื่อสารสัมพันธ์ และ 12) การบริหารระบบการทำงาน และได้นำรูปแบบศักยภาพของผู้จัดการโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมือง มาสร้างคู่มือการพัฒนาศักยภาพของผู้จัดการโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมือง และนำคู่มือดังกล่าวให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน ผลการประเมินคู่มือการพัฒนาศักยภาพของผู้จัดการโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมืองมีความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เช่น การนำไปประยุกต์ใช้กับตำแหน่งอื่นในโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมือง หรือ การนำไปประยุกต์ใช้กับผู้จัดการโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เป็นต้น</p> ปัถย์ แสงวงศ์ ชุลีวรรณ โชติวงษ์ สุภัททา ปิณฑะแพทย์ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 4 1 77 97 การพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุค 4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/421 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และ ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุค 4.0 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและใช้แบบสอบถามพนักงานในตำแหน่งหัวหน้างาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน พบว่า 1) ด้านการคิดอย่างมีระบบ ผู้ปฏิบัติงานสามารถระบุได้ถึงผลกระทบของปัญหาที่จะเกิดขึ้น 2) ด้านความสามารถส่วนบุคคล ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานให้สำเร็จได้ตามมาตรฐานที่กำหนด 3) ด้านรูปแบบการคิดผู้ปฏิบัติงานหากจะให้องค์กรเจริญเติบโตควรจะมีการรับฟังข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากผู้อื่น 4) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ผู้ปฏิบัติงานมองว่าคนเราจะเรียนรู้ได้ต้องเกิดจากการตระหนักของตนเอง และ 5) ด้านการเรียนรู้ทีมงาน ผู้ปฏิบัติงานเห็นว่าเมื่อมีคนเข้ามาใหม่ท่านจะเป็นผู้เริ่มทักทายทำความรู้จัก สำหรับผลการวิจัยระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความสามารถส่วนบุคคล และด้านการเรียนรู้ทีมงานอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการคิดอย่างมีระบบ ด้านรูปแบบการคิด และ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมอยู่ในระดับมาก</p> อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์ เสรี กรเพชร Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 4 1 98 112 พื้นฐานการพัฒนาโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อมสู่การเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/323 <p>บทความวิชาการนี้นำเสนอแนวทางการพัฒนาสู่การเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อม ตามเกณฑ์ข้อกำหนดต่าง ๆ ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และชี้ให้เห็นประโยชน์ของการเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่นอกจากจะช่วยให้บรรลุผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยสร้างความยั่งยืนในการดำเนินกิจการของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อก้าวไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศต่อไปอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต</p> นพดล ปั้นจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 4 1 113 127