การศึกษาเปรียบเทียบข้อกำหนดด้านการจัดการเพื่อคงความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศของอากาศยาน
คำสำคัญ:
ข้อกำหนดด้านการจัดการเพื่อคงความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศ, ความสมควรเดินอากาศ, สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, องค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรปบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อกำหนดด้านการจัดการเพื่อคงความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศขององค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรปและสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย รวมถึงเสนอแนวทางการปรับปรุงข้อกำหนดของประเทศไทยให้สอดคล้องกับองค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรปและเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบการวิจัยเชิงเอกสาร ทำการศึกษาเอกสารข้อกำหนดด้านการจัดการเพื่อคงความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศและทำการตรวจประเมินความแตกต่างระหว่างข้อกำหนดขององค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรปและสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย โดยใช้การวิเคราะห์ช่องว่าง ผลการศึกษาพบว่า ข้อกำหนดด้านการจัดการเพื่อคงความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยอ้างอิงจากองค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป จึงมีองค์ประกอบสำคัญส่วนใหญ่สอดคล้อง ครอบคลุม และครบถ้วน แต่มีความแตกต่างกันในบางส่วน ได้แก่ องค์ประกอบของโครงสร้างเอกสาร การรับรองหน่วยซ่อม การประเมินความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะอาดของสถานที่ ระยะเวลาการจัดเก็บเอกสารเทคนิค รายละเอียดของการบันทึกประวัติการซ่อมบำรุง แผนการบำรุงรักษาอากาศยาน หลักสูตรซ่อมบำรุงอากาศยาน และข้อกำหนดเกี่ยวกับคู่มือการซ่อมบํารุงทั่วไป สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงควรติดตามและปรับปรุงข้อกำหนดให้ทันสมัย ครอบคลุม และสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การความปลอดภัย ด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป ในขณะที่ผู้ดำเนินการเดินอากาศควรปรับปรุงคู่มือที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นมาตรฐานเดียวกัน
References
Senate Committee on Transportation. (2021). Report on The Study of Safety and Security Development in Aviation, Including Air Traffic Management According to International Standards. Bangkok: Secretariat of The Senate.
Pradabmuk, P., & Noranitphadungkan, C. (2017). Factors Causing the Crisis in Thailand’s Civil Aviation. Rattapirak Journal, 59(3), 32–42. (In Thai)
Civil Aviation Authority of Thailand. (2017). Thailand Successfully Removed from ICAO's Red Flag List. Retrieved From https://www.caat.or.th/th/archives/30945 (In Thai)
International Civil Aviation Organization. (2024). Safety Audit Results: USOAP Interactive Viewer. https://www.icao.int/safety/pages/usoap-results.aspx
Rangsinthu, J., & Jenjobsakolkit, A. (2019). Aeronautical Operations and Military Aircraft. National Defense Academy Journal, 10(3), 12-23. (In Thai)
Sirisap, A., et al. (2021). The Development of the Royal Thai Air Force Aviation Standard for Safety and International Aviation Standard. Suan Sunandha Rajabhat University Political Science Journal, 4(2), 138–147. (In Thai)
International Civil Aviation Organization. (2010). Annex 8 to the Convention on International Civil Aviation: Airworthiness of Aircraft (11th ed.). Canada: International Civil Aviation Organization.
European Union Aviation Safety Agency. (2023). Regulation (EU) No. 1321/2014 of 26 November 2014 on the Continuing Airworthiness of Aircraft and Aeronautical Products. https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=CELEX%3A02014R1321-20190305
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.