ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9

Main Article Content

ยุพวดี ก้านมะลิ
สมาน ประวันโต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสถานศึกษาในสังกัดเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9 ในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสถานศึกษาในสังกัดเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9 ในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 24 คน เป็นการเลือกด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ครูผู้สอน 209 คน รวมทั้งสิ้น 233 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตรประมาณค่า มี 5 ระดับ ผลการหาค่า IOC คือ 1.00 ทุกข้อ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.67 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จารุสิริ ทองเกตุแก้ว, เฉลิมชัย หาญกล้า และภัสยกร เลาสวัสดิกุล. (2562). ภาวะผู้นำและบรรยากาศสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. วารสารลวะ, 3(1), 63-80.

ณฐวัฒน์ พระงาม. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 8(2), 13-23.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญสิตา วงศรี. (2560). ศึกษาสภาพการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษในเขตภาคเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).

รจนา มากเลาะเลย์. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์).

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2554). มนุษยสัมพันธ์ พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

รุ่งนภา วิจิตรวงศ์. (2551). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).

สมพร จำปานิล. (2549). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).

สิริรักษ์ นักดนตรี .(2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครู สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ)

อุมาวดี วัฒนะนุกูล. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 1 อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา).

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.