การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี

Main Article Content

วิยะดา วรรณขันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ที่มีประสิทธิผล ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ คือ (1) ศึกษาข้อมูลโดยการศึกษาวิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมทางกายของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี เอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย (2) ยกร่างเอกสารหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร (3) ตรวจสอบเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านและนำมาแก้ไขปรับปรุง (4) ทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนอาสาสมัครจำนวน 30 คน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี และทำการแก้ไขปรับปรุง (5) นำหลักสูตรไปใช้กับนักเรียนโรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี จำนวน 237 คน และ (6) ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรการจัดกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ที่มีประสิทธิผลมีลักษณะสำคัญ คือ 1.1) เอกสารหลักสูตรได้กำหนดเกณฑ์การผ่านหลักสูตรคือ นักเรียนต้องเข้าเรียนตามเวลาที่กำหนดอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ และนักเรียนมีสมรรถภาพทางกายหลังเข้าร่วมกิจกรรมดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 1.2) เอกสารประกอบหลักสูตร เป็นคู่มือหลักสูตรสำหรับครูผู้สอน เรื่องการจัดกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ซึ่งเป็นเอกสารเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ครูในการนำหลักสูตรไปใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2) ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรการจัดกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี พบว่า นักเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีเวลาเรียนเกินร้อยละ 80 ทุกคน โดยเฉลี่ย 90.25 มีสมรรถภาพทางกายหลังเข้าร่วมกิจกรรมดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม และนักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกรส หงส์ทอง. (2530). การเปลี่ยนแปลงของหัวใจ ระบบไหลเวียนเลือด และระบบหายใจต่อการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมพลศึกษา. (2555). แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของเด็กไทย อายุ 7-18 ปี. กรุงเทพฯ: สัมปชัญญะ.

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงสาธารณสุข. (2550). ข้อเสนอแนะ แนวทางการมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) ที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2556). กิจกรรมทางกาย. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 39(1), 5-6.

ชูศักดิ์ เวชแพทย์ และกันยา ปาละวิวัธน์. (2536). สรีรวิทยาการออกกาลังกาย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: เจริญผล.

ภาณุ กุศลวงศ์. (2558). การพัฒนาหลักสูตรครูผู้ฝึกสอนกีฬาเทควันโด ระดับมัธยมศึกษา. (ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

มนสิช สิทธิสมบูรณฺ. (2540). เอกสารการฝึกอบรมการวิจัยการวิจัยในชั้นเรียน. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรพนธ์ จันทรธีระยานนท์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2540). การวัดและประเมินความพร้อมสำหรับเด็กอนุบาลด้านร่างกายและสังคม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริรัตน์ หิรัญรัตน์. (2534). การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและกีฬา. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาลัยมหิดล.

สุพิตร สมาหิโต และคณะ. (2548). การสร้างแบบทดสอบสมรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Caterino, M. C., & Polak, E. D. (1999). Effect of Two Types of Activity on the Performance of Second, Third and Fourth Grade Student on a Test of Concentration. Perception and Motor Skills, 89, 245-248.

Dumith, S.C., D.P. Gigante, M.R. Domingus, and H.W. Kohl. (2011). Physical Activity Change during Adolescence: A Systematic Review and a Pooled Analysis. International Journal of Epidemiology, 40(3), 685-698.

Keays, J.J., & Allison, K. R. (1995). The Effects of Regular Moderate to Vigorous Physical Activity on Student out Comes. Journal of Public Health, 86, 62-66.

Kwak, L., Kremers, S., Bergman, P., Ruiz, J. R., Rizzo, N. S., & Sjostrom, M. (2009). Associations between physical activity, fitness, and academic achievement. The Journal of Pediatrics, 155, 914-918.

Lindvall, O., Kokaia, Z., Bengzon, J., Elmer, E, & Kokaia, M (1994). Neurotrophins and Brain Insult. Trends Neuroscience, 17, 490-496.

Sallis, J. F., Mckenzie, T, L., Kolody, B., Lewes, M. Marshall, S., & Rosengrad, P. (1999). Effects of Health Related Physical Education on Academic Achievement. Research Quarterly for Exercise and Sport, 70, 127-134.

Sibley, B., & Etnier, J. (2003). The Relationship Between Physical Activity and Cognition in Children: a Metaanalysis. Pediatric Exercise Science, 15, 243-253.

Singh-Manoure, A., Hillsdon, M., Brunner, E., & Marmot, M. (2005). Effccts of Physical Activity on Cognitive Functioning in Middle Age: Evidence from the Whitehall II Prospective Cohort Study. American Journal of Publish Health, 95(12), 2252-2258.

Taras, H. (2005). Physical Activity and Student Performance at School. Journal of School Health, 75(6), 214-218.

Tomporowski, P. (2003). Cognitive and Behavioral Responses to Acute Exercise in Youths: A Review. Pediatric Exercise Science, 15, 348-359.