คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายหลังจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 ในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายหลังจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 ในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายหลังจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 ในจังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายหลังจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 ในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดนนทบุรี จำนนวน 400 คน ผลการวิจัย 1) คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายหลังจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 ในจังหวัดปทุมธานี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ระดับความคิดเห็นด้านความเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด 2) ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายหลังจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 ในจังหวัดปทุมธานี พบว่า ด้านกระบวนการภายใน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ 3) การเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายหลังจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 ในจังหวัดปทุมธานี พบว่า คุณลักษณะของผู้ประกอบการ ด้านความเป็นตัวของตัวเองมีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ ด้านลูกค้า และคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ด้านความมีนวัตกรรมผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ ด้านการเรียนรู้และการเติบโตของธุรกิจมี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ด้านความกล้าเสี่ยง ด้านการบริหารจัดการ ด้านความสม่ำเสมอและใฝ่ใจในการเรียนรู้ และด้านความใฝ่ใจในความสำเร็จไม่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
โชติรส สมพงษ์และสาโรช เผือกบัวขาว. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 11(1), 310-327.
ณัชชา เจริญศรี. (2563). ผลกระทบโควิด 19 ด้านเศรษฐกิจและโอกาสทางธุรกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2568 จากhttps://www.storehub.com/blog/covid-19.
ทิบดี ทัฬหกรณ์และประสพชัย พสุนนท์. (2562). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จในธุรกิจร้านค้าบริษัททรู คอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน). วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9(1), 06-117.
ธนาคารกสิกรไทย. (2565). ครบเรื่องธุรกรรมการเงิน รู้จริงทุกธุรกิจ. สืบค้นจาก สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2568 https://www.kasikornbank.com/th/kbiz/article/pages/guide-for-sme-business-and-how-it-works.aspx.
ประคอง กรรณสูตร. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัทธมน ธุระธรรมานนท์และกังวาน ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์. (2565). ปัจจัยธุรกิจคุณลักษณะของผู้ประกอบการและการสร้างความ ได้เปรียบทางการแข่งขันที่นำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจเบเกอรี่บนออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 13, (1), 16-31.
ภัสสร เกษลักษณ์. (2561). ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการติดตั้งประตูหน้าต่างอลูมิเนียมในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)
ศิวกร อโนรีย์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน และความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดราชบุรี. (ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศิลปากร)
สถิติข้อมูลผู้ประกอบการ SME. (2565). จำนวนผู้ประกอบการจำแนกตามจังหวัดของประเทศไทย ปี 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2568 https://www.smebigdata.com.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). แผนปฏิบัติการของ สสว.ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) (ฉบับทบทวน). สำนักนายกรัฐมนตรี.
อโนมา ภาคสุทธิ, ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์, และประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2563). การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ. วารสารจิตวิทยามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตม, 11(2), 75-85.
Freser, M. and et al. (2000). Entrepreneurial orientation: A psychological model of success among southern African small business owners. European journal of work and organizational psychology, 14(3), 315 - 344.
Huarng, K. H., & Ribeiro- Soriano, D. E. (2014). Developmental management: Theories, Methods, and Applications in Entrepreneurship, Innovation, and Sensemaking. Journal of Business Research 67, 657–662.
Kaplan, R., & Norton, D. (1992). The balanced scorecard - measures that drive performance, Harvard Business Review, 70, 71-79.
Porter, M.E. (2005). The Competitive Advantage Creating and Sustaining Superior Performance. New York : The Free Press.
Saunila, M., Pekkola, S., & Ukko, J. (2014). The relationship between innovation capability and performance: The moderating effect of measurement. International Journal of Productivity and Performance Management, 63(2), 234-249