การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน และ 2. เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน ประชากรได้แก่เด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุระหว่าง 4 - 5 ปีศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2567 โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต1 จำนวน 30 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน จำนวน 12 แผน และแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยทั้งหมด3 ด้านคือ ด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านมารยาทในสังคม และ ด้านความเอื้อเฟื้อเผื่อ ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ3 วันคือวันอังคารวันพุธและวันพฤหัสบดี วันละ 45 นาทีในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานคือค่าสถิติไค–สแควร์และค่าความแตกต่าง
ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน มีความสัมพันธ์กันทั้งโดยภาพรวมและจําแนกรายด้านอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2. พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะทาง สังคมของเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนการทดลองทั้งโดยภาพรวมและจําแนกรายด้าน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์. (2557). พฤติกรรมเด็ก: การเข้าใจและจัดการอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). การสร้างเสริมพฤติกรรมทางสังคมในเด็ก. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
ดารารัตน์ ทัพโต. (2554). การพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธันยา พิทธยาพิทักษ์. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กก่อนวัยเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณัฏฐนิช สะมะจิตร์. (2551). การส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคมของเด็กโดยใช้วรรณกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฐทิญาภรณ์ การะเกตุ. (2563). วรรณกรรมกับพัฒนาการทางสังคมของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พรรณี บุญธรรม. (2557). แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.
พิศมัย สุขขี. (2560). ผลของกิจกรรมวรรณกรรมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศุภรักษ์ ฮามคำไพ. (2563). การจัดกิจกรรมวรรณกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคมของเด็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สิริมา ภิญโญอนันต์พงษ์. (2550). พัฒนาการทางสังคมของเด็กในช่วงวัยก่อนเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). รายงานการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สุภาภรณ์ จิราภา. (2562). พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่เรียนผ่านวรรณกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สุภาวดี โพธิยะราช. (2560). แนวทางการใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Bloom, B. S. (1964). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. New York: Longman.
Eisenberg, M. E., Olson, R. E., Neumark-Sztainer, D., Story, M., & Bearinger, L. H. (2004). Correlations between family meals and psychosocial well-being among adolescents. Archives of Pediatrics & Adolescent Medicine, 158(8), 792–796.
Erikson, E. H. (1975). Childhood and society (2nd ed.). New York: Norton.
Sawyer, R. K. (2000). Children’s spontaneous improvisation: Musical and verbal performance. Creativity Research Journal, 13(3–4), 361–370.
Tomlinson, C. A., & Lynch-Brown, C. (1996). Essentials of children’s literature (3rd ed.). Boston: Allyn & Bacon.
Treffinger, D. J. (2007–2008). Preparing creative and critical thinkers. Educational Leadership, 65(2), 8–15.