แนวทางการบริหารจัดการและการแก้ปัญหาเพื่อลดการละเมิดสิทธิมนุษยชนสำหรับเยาวชนไทยในระดับอุดมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ทำความเข้าใจเรื่องการลดการละเมิดสิทธิมนุษยชน 2) ประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการลดการละเมิดสิทธิมนุษยชน และ 3) ค้นหาแนวทางการบริหารจัดการและการแก้ปัญหาเพื่อลดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ (1) นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 50 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (2) นักศึกษาปริญญาตรี 545 คน เป็นการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบมีสัดส่วน (Proportion Stratified Sampling) การสุ่มแต่ละขั้นตอนจะใช้การสุ่มอย่างง่าย และ (3) อาจารย์ นักวิชาการอิสระที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน 8 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือ คือ แบบอภิปรายกลุ่ม แบบประเมินความต้องการจำเป็น 8 ประเด็น ประเด็นละ 5 ข้อ รวม 40 ข้อ และแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง จำนวน 6 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการประเมินความต้องการจำเป็น และเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis: CA) และการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis: TA) ผลการวิจัยพบว่า 1) การลดการละเมิดสิทธิมนุษยชน 8 องค์ประกอบ คือ มาตรฐานความงาม ความแพร่หลายทางภาษา ความเท่าเทียมทางศาสนา ความเป็นกลางสำหรับเยาวชน ความเท่าเทียมทางเพศ ปัญหาด้านสุขภาพ สิทธิในการแต่งกาย และมลภาวะทางเสียง 2) องค์ประกอบที่ 7 สิทธิในการแต่งกาย มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNImodified = 0.099) รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 2 ความแพร่หลายทางภาษา (PNImodified = 0.0089) และ 3) แนวทางการบริหารจัดการและการแก้ปัญหา เน้นถึงเสรีภาพการแสดงออกที่สอดคล้องกับความเหมาะสมในสังคม ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและตัวตนของแต่ละบุคคล
Article Details
References
ชาญชัย ฤทธิร่วม. (2562). วิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางสังคมด้านการศึกษาของพลเมืองชายขอบ. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 2(4), 49-60.
ธนพล พานิชย์ และ อรทัย อิ่มใจ. (2566). การใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อพัฒนาทักษะภาษาและการเข้าใจ วัฒนธรรม. วารสารการศึกษาภาษาไทย, 28(3), 134-146.
นพรัตน์ สกุลชัย และ ศิริวรรณ ธรรมศรี. (2566). การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดบุหรี่ในสถาบันการศึกษาและผลกระทบต่อสุขภาพ. วารสารการศึกษาสุขภาพ, 15(2), 45-59.
ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2561). การศึกษาและสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2564). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก,. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
วรพล พิณทอง. (2563). การยอมรับความหลากหลายและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมในสถาบันการศึกษา. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2563). สิทธิมนุษยชนศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นจากhttps://static.nhrc.or.th/file/content/pdf.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). เจตนารมณ์/นโยบายหัวหน้าคณะรักษาความ สงบแห่งชาติ. สืบค้น วันที่ 1 กันยายน 2567, สืบค้นจาก http://library2.parliament.go.th/giventake/ncpo. html.
สุพัตรา สุขไพบูลย์. (2564). การส่งเสริมภาษาถิ่นในการศึกษาของมหาวิทยาลัย: การลดการเลือกปฏิบัติทางภาษาและส่งเสริมความเข้าใจ. วารสารการศึกษาพื้นบ้าน, 30(1), 78-89.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bell, J., & Clark, M. (2022). Dress Codes and Freedom of Expression in Universities: A Path to Inclusivity. International Journal of Education, 40(1), 33-47.
Booth, T., & Ainscow, M. (2016). The Index for Inclusion: Developing learning and participation in schools (3rd ed.). Centre for Studies on Inclusive Education.
Department of Education. (2012).The Equality Act 2010. available online at www.education.gov.uk/aboutdfe/policiesandprocedures/equalityanddiversity/a0064570/the-equality-act-2010.
Flew, A. (1984). Title of the article. Title of the Journal, Volume (Issue), 306.
Gifford, E., & Simpson, M. (2023). Cultural Diversity in Higher Education: Language, Culture, and Identity. Journal of Educational Studies, 55(1), 34-47.
Hughes, A. (2019). Developing effective leadership strategies for schools. Journal of Educational Management, 15(2), 123–140.
Moreno, E. (2016). The contributions of the ombudsman to human rights in Latin America, 1982 2011. Latin American Politics and Society, 58(1), 98-120.
Nguyen, T., & Tran, P. (2022). Language, Culture, and Inclusion: Promoting Multilingual Education in University Campuses. Journal of Language and Culture, 50(4), 125-137.
Nussbaum, M. C. (2000). Women and human development: The capabilities approach. Cambridge University Press.
Sirisrisak, T. (2020). Challenges of higher education students in Thailand: A study on adaptation and coping strategies. University of Thailand Press.
Taylor, S. P., & Silva, J. A. (2020). The evolution of human rights: From the Universal Declaration to global activism. Human Rights Quarterly, 42(4), 881-902.