แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น

Main Article Content

ไพฑูรย์ แวววงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 83 คน และครูผู้สอนจำนวน 259 คน รวมทั้งสิ้น 342 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie Morgan, 1970) โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตอบสนองคู่ (Dual response format) ชนิด 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยการหาค่า IOC ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค โดยการหาค่าความเชื่อมั่นสภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.967 และค่าความเชื่อมั่นสภาพที่พึงประสงค์ เท่ากับ 0.973 แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNI modified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น โดยรวมมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNI modified = 0.080 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ขอนแก่น มี 5 องค์ประกอบ 12 แนวทาง ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ 3 แนวทาง ด้านการพัฒนาตนเอง 2 แนวทาง ด้านการสื่อสารและการจูงใจ 2 แนวทาง ด้านการคิดเชิงกลยุทธ์ 3 แนวทาง และด้านการทำงานเป็นทีม 2 แนวทาง และมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉวีวรรณ ฉัตรวิไล. (2560). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).

ณัฐพงศ์ ตระการ และสุรางคนา มัณยานนท์. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(1), 121-136.

ธงชัย สันติวงษ์. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการบริหารสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: พัฒนาทรัพยากรมนุษย์.

ประเสริฐ กำเลิศทอง. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

พงษ์พิทักษ์ นามนิตย์. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

พิชามญชุ์ ลาวชัย. (2562). การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์, 17(3), 112-125.

พิมพอร สดเอี่ยม. (2564). การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารการศึกษา, 15(2), 45-57.

มานะ ครุธาโรจน์. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ยุคการศึกษา 4.0. (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2561). การบริหารสถานศึกษายุคใหม่. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

วีรวัฒน์ มานนท์ และธานี เกสทอง. (2556). แนวทางพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารบัณฑิตวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 59-72.

สมชาย เทพแสง. (2563). สมรรถนะผู้นำทางการศึกษา: แนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุบรรณ ลาสา, ไพวุฒิ ลังกา และวิสุทธิ์ ราตรี. (2560). ความต้องการแนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(2), 120-132.

อัจฉรา พยัคฆ์เกษม. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอคลองขลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).

อัญชุลีภรณ์ คำภิระ และศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1318-1332.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.