ความต้องการจำเป็นการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี จำวน 209 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน โดยผู้บริหารเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ครูผู้สอนใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามตอบสนองคู่ (Dual – Response Format) แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับสภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.905 สภาพที่พึงประสงค์ 0.986 .สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI modified ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน ของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานีด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน รองลงมาคือการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านการคัดกรองนักเรียน 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือการคัดกรองนักเรียน รองลงมาคือการการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน และมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 3) ความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี เรียงลำดับความสำคัญดังนี้ การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียนมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNI Modified = 0.42) รองลงมาคือ การคัดกรองนักเรียน (PNI Modified = 0.41) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุดคือการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (PNI Modified = 0.26)
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต. (2551). คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3-4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-6). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปุญชรัศมิ์ พันธุวัฒน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการคัดกรองนักเรียนของโรงเรียนพร้าววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).
วิรากานต์ บุตรพรม. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี. (2564). แผนพัฒนาการศึกษา (พศ.2561-2565) ฉบับทบทวน 2564. อุดรธานี: สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (เอกสารสรุปย่อองค์ความรู้). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
อารียา ก่อกุศล, ปพนสรรค์ โพธิ์พิทักษ์ และฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ. (2564). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประจำ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในจังหวัดลพบุรี. Journal of Buddhist Education and Research, 7(1), 26-37.