ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลกลุ่มทุ่งฝน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
คำสำคัญ:
ทักษะยุคดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, แนวทางพัฒนาบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลกลุ่มทุ่งฝน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 เก็บข้อมูลจากครูผู้สอน 108 คนใน 13 โรงเรียน ด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ผ่าน Google Form ได้รับตอบกลับ 98 ชุด คิดเป็นร้อยละ 90.74 ผลการวิจัยพบว่า ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลกลุ่มทุ่งฝน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวางแผนงานร่วมกับผู้ร่วมงานโดยมีเป้าหมายทิศทางเดียวกัน รองลงมา คือ การกระตุ้นให้บุคลากรทำงานเต็มศักยภาพและการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่วนทักษะที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การนำองค์ความรู้ทางการบริหารมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สำหรับแนวทางพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลที่สำคัญ ประกอบด้วย การบูรณาการองค์ความรู้และติดตามนวัตกรรมการบริหาร เพื่อประยุกต์ใช้กับบริบทของสถานศึกษา การสร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตรและใช้หลักจิตวิทยาในการบริหารจัดการบุคลากร การพัฒนาระบบสารสนเทศที่ทันสมัย ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอน และการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นดิจิทัล
References
กมลทิพย์ อินแก้วเครือ. (2564). ทักษะและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารการประชุมวิชาการ นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14, 2(14), 985-991. http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/8thconference/article/view/2522.
กวินท์ บินสะอาด. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ธนวัฒน์ สุวรรณเหลา. (2564). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา สพป.อุดรธานี เขต 3. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.udonthani3.go.th.
สัตตบุษย์ โพธิรุท. (2564). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุภวัช เชาวน์เกษม, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ และสุดารัตน์ สารสว่าง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 3(3), 85–99. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/download/240158/165663/861194.
สุชาติ ธาดาธำรงเวช. (2555). นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
อาริสา ดวงเนตร์. (2564). ทักษะของผู้บริหารในศตวรรษที่21 ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดยะลา. วารสารครุพิบูล, 8(2), 157-169.
อารีย์ น้ำใจดี และพิชญาภา ยืนยาว. (2562). ผู้นำกับการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. งานประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 11, 11-12 กรกฎาคม 2562 หน้า 1647-1648. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.