การบริหารเชิงกลยุทธ์เมื่อเผชิญวิกฤตความไม่แน่นอนสูง กรณีศึกษาร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สรัญญา สุทธิวรพงศ์ศรี หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การบริหาร, วิกฤต, ความไม่แน่นอนสูง, ร้านอาหารผู้ชายขายหอย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์เมื่อเผชิญวิกฤตความไม่แน่นอนสูง กรณีศึกษา ร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร และ 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์เมื่อเผชิญวิกฤตความไม่แน่นอนสูง กรณีศึกษา ร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องจำนวน 6 คน ประกอบด้วย เจ้าของร้าน 1 คน และพนักงานร้าน 5 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารเชิงกลยุทธ์เมื่อเผชิญวิกฤตความไม่แน่นอนสูง กรณีศึกษา ร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ตลาดยังไม่มี ด้านการเพิ่มคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ ด้านการลดต้นทุนและฟังก์ชันที่ไม่สำคัญ และด้านการกำจัดปัจจัยที่ไม่จำเป็น และ 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์เมื่อเผชิญวิกฤตความไม่แน่นอนสูง กรณีศึกษา ร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พบว่า เจ้าของร้านอาหารผู้ชายขายหอยมีการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพลิกโฉมการดำเนินธุรกิจในช่วงที่ตลาดร้านอาหารกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง โดยใช้กลยุทธ์สีน้ำเงิน (blue ocean strategy) โดยมีแนวทาง 4 ด้าน ดังนี้ ด้านกำจัดปัจจัยที่ไม่จำเป็น (eliminate) ดำเนินการตัดเมนูที่ขายไม่ดี ลดกระบวนการซับซ้อน และยกเลิกโฆษณาแบบดั้งเดิมที่ไม่คุ้มค่า ด้านลดต้นทุนและฟังก์ชันที่ไม่สำคัญ (reduce) ดำเนินการลดขนาดพื้นที่นั่งทาน ปรับใช้ระบบคิวอาร์โค้ด เพื่อลดจำนวนพนักงาน และใช้วัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุน ด้านการเพิ่มคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ (raise) ดำเนินการยกระดับบรรจุภัณฑ์ให้พรีเมียม เพิ่มเมนูที่เป็นเอกลักษณ์ และใช้การเล่าเรื่อง (storytelling) ในการตลาดออนไลน์ และด้านการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ตลาดยังไม่มี (create) ดำเนินการพัฒนาโมเดลธุรกิจบอกรับสมาชิก (subscription box) ระบบพรีออเดอร์ และกิจกรรมการถ่ายทอดสดการทำอาหาร (live cooking show) เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า

References

Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.

Elkington, J. (1997). Cannibals with forks: The triple bottom line of 21st-century business. Capstone.

Gössling, S., Scott, D., & Hall, C. M. (2021). Pandemics, tourism and global change: A rapid assessment of COVID-19. Journal of Sustainable Tourism, 29(1), 1-20.

Imai, M. (1986). Kaizen: The key to Japan’s competitive success. McGraw-Hill.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2008). The execution premium: Linking strategy to operations for competitive advantage. Harvard Business Press.

Kim, W. C., & Mauborgne, R. (2005). Blue ocean strategy: How to create uncontested market space and make the competition irrelevant. Harvard Business Review Press.

Kim, W. C., & Mauborgne, R. (2015). Blue ocean strategy: Expanded edition. Harvard Business Review Press.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management. Pearson

Mitroff, I. I. (2004). Crisis leadership: Planning for the unthinkable. Wiley.

Porter, M. E. (1985). Competitive advantage: Creating and sustaining superior performance. Free Press.

Rumsfeld, D. H. (2011). Known and unknown: A memoir. Sentinel.

Shah, B., & Khanzode, V. (2017). Storage allocation framework for designing lean buffers

in forward-reserve model: A test case. International Journal of Retail &Distribution Management, 45(1), 90-118. doi:10.1108/IJRDM-07-2016-0112.

Slack, N., Chambers, S., & Johnston, R. (2010). Operations management. Pearson Education.

Teece, D. J. (2010). Business models, business strategy and innovation. Long Range Planning, 43(2-3), 172-194.

World Health Organization. (2020). Impact of COVID-19 on food security and nutrition. Retrieved 24 April 2025 from https://www.who.int/news/item/13-10-2020-impact-of-covid-19-on-people's-livelihoods-their-health-and-our-food-systems.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-01

How to Cite

สุทธิวรพงศ์ศรี ส. (2025). การบริหารเชิงกลยุทธ์เมื่อเผชิญวิกฤตความไม่แน่นอนสูง กรณีศึกษาร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(2), 571–584. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1677