การพัฒนาความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • วริทธิ์ ปรินายวนิชย์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 75/75

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบโครงงานเป็นฐาน รายวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคยโสธร จำนวน 13 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 4 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีประสิทธิภาพ 78.33/82.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 2. นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการเขียนโปรแกรมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสามารถพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ.

มติชนออนไลน์. (2562). ‘รมช.ศธ.’ เดินหน้าหลักสูตร ‘โค้ดดิ้ง’ หนุนเด็กไทยเรียนภาษาที่ 3 พร้อมก้าวสู่ศตวรรษที่ 21. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2567 จาก https://www.matichon.co.th/education/news_1619020.

เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. นิตยสาร สสวท, 42(188), 14-17.

ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน และเฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วย การนําตนเอง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 46(1), 218–253.

นราวิชญ์ ศรีเปารยะ. (2561). การพัฒนาระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี การศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปริยทิพย์ บุญคง. (2546). การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิตทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ปิณิดา สุวรรณพรม, เยาวเรศ ใจเย็น และปวริศา จรดล. (2563). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโครงงานเป็นฐานและแบบโครงงานเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(3), 52-62.

พงศกร แพ่งสองคร, ภูษิต บุญทองเถิง และชัยวัฒน์ สุภัควรกุล. (2562). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องการประกอบคอมพิวเตอร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 1(1), 55–68.

พรชัย ผาดไธสง. (2560). การพัฒนาหลักสูตร. นครราชสีมา: โฟโต้บุ๊คดอทเน็ต.

ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ไพศาล หวังพานิช. (2526). การวัดผลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วิทยาลัยเทคนิคยโสธร. (2564). รายงานผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) ประจำปีการศึกษา 2564. สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดยโสธร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0. กรุงเทพฯ: หจก. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุชาติ วงศ์สุวรรณ. (2542). การเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21: การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหลักสูตรกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

อาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์ และมนตรี แย้มกสิกร. (2556). การพัฒนาระบบการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 1–14.

อุหมาด หมัดอาด้ำ. (2564). โครงสร้างข้อมูลกับภาษา C/C++. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Bell, S. (2010). Project-Based Learning for the 21st Century: Skills for the Future. The Clearing House: A Journal of Educational Strategies, Issues and Ideas, 83(2), 39–43. https://doi.org/10.1080/00098650903505415.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-01

How to Cite

ปรินายวนิชย์ ว. (2025). การพัฒนาความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(2), 511–525. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1589