แนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอนุบาลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการกลั่นแกล้ง, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, แนวทางแก้ไขปัญหาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) สาเหตุการเกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) หาแนวทางการลดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอนุบาลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนอนุบาลท่าหลวง จำนวน 114 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสังเกต นักเรียนจำนวน 31 คน และการสัมภาษณ์ครู นักเรียน จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลจากการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียน คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจิตลักษณะ ปัจจัยจิตสังคม และปัจจัยด้านการใช้สื่อและอินเทอร์เน็ต 2) สาเหตุการเกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เกิดมาจากความไม่สมบูรณ์ของครอบครัว การใช้ความรุนแรงในครอบครัว ความคับข้องใจของตนเอง การแสดงพฤติกรรมตามเพื่อนและรุ่นพี่ เพื่อนไม่ให้ลอกงานหรือการบ้าน และ3) แนวทางการลดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอนุบาลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในภาพรวมคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จิรดา ประสาทพรศิริโชค. (2562). พฤติกรรมการรังแกกันในโรงเรียนในเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้นที่มารับการรักษาที่หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุตินาถ ศักรินทร์กุล และอลิสา วัชรสินธุ. (2557). ความชุกของการข่มเหงรังแกและปัจจัยด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในเด็กมัธยมต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(3), 221 – 230
ญาดา หิรัญยะนันท์. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการแสดงบทบาทผู้ปกป้อง หรือสังเกตการณ์ในเหตุการณ์รังแกในโรงเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐ์ธฌานนท์ ข้ามสาม. (2564). แนวทางการบริหารกิจการนักเรียน เพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ธนัชพร สุทธิศันสนีย์. (2566). ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://golink.icu/9mwkrrZ
นวภัทร ณรงค์ศักดิ์ และอารณีย์ วิวัฒนาภรณ์. (2563). สถานศึกษาต้นแบบในการป้องกันการกลั่นแกล้งข่มเหงรังแกกันในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 16(1), 35 – 67
นวิยา นิยมธรรม. (2558). รายงานการวิจัย เรื่อง ศึกษาพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศญี่ปุ่น: กรณีศึกษาผู้ถูกรังแก. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นัสสรา หงส์ร่อน. (2563). แนวคิดทฤษฎีบุคลิกภาพ. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 16, 2566, เข้าถึงได้จาก https://relink.asia/Wy03f
เนรัญชรา ไชยยา. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรพรรณ ทองมนงศักดิ์. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการถูกรังแกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/SjcqL.
พิมพ์พลอย รุ่งแสง. (2560). ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ถูกข่มเหงรังแกทางโลกไซเบอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทรจรัส บำรุงพงษ์. (2562). การกลั่นแกล้งในมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษานิสิตที่มีความต้องการพิเศษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนอนุบาลท่าหลวง. (2566). ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/VlOcf
สมบัติ ตาปัญญา. (2550). รายงานการสำรวจปัญหาการรังแกกันของนักเรียน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุจรรยา ทรัพย์สิริโสภา. (2557). ความรู้เบื้องต้นทางสถิติ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/astGW
หทัยภัทร โอสุวรรณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัสรี อนุตธโต. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการข่มเหงรังแกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Rigby. (2007). Bullying in school and what to do about it. Camberwell Victoria: Australian Council for Educational Research.