แนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนของโรงเรียนโคกตูมวิทยา อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
การขาดแคลนครู, ครูผู้สอน, แนวทางแก้ไขบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลการขาดแคลนครูผู้สอนของโรงเรียนโคกตูมวิทยา อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 2) ศึกษาสาเหตุการขาดแคลนครูผู้สอนของโรงเรียนโคกตูมวิทยา 3) หาแนวทางการจัดการการขาดแคลนครูผู้สอนของโรงเรียนโคกตูมวิทยา เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนโรงเรียนโคกตูมวิทยา จำนวน 9 คน และกลุ่มทดลอง คือ นักเรียนโรงเรียนโคกตูมวิทยาจำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม แบบสอบถามความพึงพอใจ และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อหาข้อสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลการขาดแคลนครูผู้สอนของโรงเรียนโคกตูมวิทยา ประกอบด้วย การเป็นโรงเรียนขนาดกลาง การจัดสรรตำแหน่งครูไม่เหมาะสมจำนวนครูผู้สอนจึงน้อยโดยเฉพาะในรายวิชาพื้นฐาน และการติดภาระงานอื่นที่นอกเหนือจากงานสอน 2) สาเหตุการขาดแคลนครูผู้สอนของโรงเรียนโคกตูมวิทยา ด้านสถานภาพและทิศทางสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาครู อยู่ในระดับมาก ด้านการย้ายโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง ด้านขนาดของโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 3) แนวทางการจัดการการขาดแคลนครูผู้สอนของโรงเรียนโคกตูมวิทยา โดยแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนด้วยการเรียนรวมห้องเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 2 ห้อง ของโรงเรียนโคกตูมวิทยา ผลปรากฏว่า ความพึงพอใจของนักเรียนด้านกิจกรรมการเรียนรวมห้อง อยู่ในระดับมาก และมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น
กฤษฎา ขาวเรือง. (2564). รายงานการวิจัย เรื่อง มาตรการทางกฎหมายเพื่อลด ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์. (2563). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์.
กษิดิ์เดช คำพุช. (2566). ปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก: สาเหตุ แนวทางแก้ไข และบทบาทของภาคีเครือข่าย. วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 25(2), 1-1.
กัลยาณี พรมทอง. (2563). บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของครู. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3R82Rol.
นพกุล ปุคลิต. (2565). การเปรียบเทียบสาเหตุและผลกระทบจากการย้ายของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. วารสารบริหารการศึกษา, 19(36), 1-12.
เนตรนภา หยูมาก. (2562). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาคุณลักษณะของครูที่นักเรียนพึงประสงค์ตามทัศนะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สงขลา: โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปาณิสรา หาดขุนทด. (2565). การสร้างสื่อการเรียนรู้แบบมัลติมีเดีย รายวิชาวิทยาการคํานวณระดับประถมศึกษา สําหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดแคลนครู. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 10(3), 302 -313.
ฝ่ายวิชาการโรงเรียน. (2565). ข้อมูลทั่วไปโรงเรียนโคกตูมวิทยา. ลพบุรี: โรงเรียนโคกตูมวิทยา.
พัฒนฉัตร พระรัศมีหงษ์ และธีรภัทร กุโลภาส. (2562). มุมมองที่น่าสนใจการคงอยู่ของครูโรงเรียนในประเภทสามัญศึกษา: การศึกษาโรงเรียนปรียาโชติจังหวัดนครสวรรค์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 14(2), 238-249.
พิพัฒน์ ไผ่แก้ว. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3), 158-168.
พีระยุทธ์ สุขสมบูรณ์. (2557). สภาพปัญหาและการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กบนพื้นที่สูงที่ขาดแคลน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านอุมโละเหนือ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ส่องสอน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 15(1), 28-36.
ราชกิจจานุเบกษา. (2550). เล่ม 124 ตอนที่ 47ก บทบัญญัติด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 24 สิงหาคม 2550.
ลดารัตน์ ศศิธร. (2558). การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่,
วณิสา ถิ่นทัพไทย. (2556). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่ขาดแคลนครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 2. วารสารวิจัยกาสะลองคำ, 7(1), 158-167.
วีระศักดิ์ พลมณี. (2564). แนวทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอย่างมีธรรมาภิบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วารสารปรัชญาและศาสนา, 7(1), 39-49.
ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2558). ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/GWXDC
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2558). ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/GWXDC
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานผลการศึกษาสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สรัญญา บุดดา. (2559). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการตามนโยบายพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มเครือข่ายการศึกษาลาดค้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 24-33.
สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2567. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/x8EAO
อุทิศ ดวงผาสุข. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(2), 183-196.