แนวทางการพัฒนาศาลยุติธรรมสู่องค์กรอัจฉริยะ
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, ศาลยุติธรรม, องค์กรอัจฉริยะบทคัดย่อ
องค์กรอัจฉริยะเป็นแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงองค์การโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพด้วยวิธีการจัดการความรู้ใหม่ ๆ ร่วมกับการพัฒนาด้านบุคลากร กระบวนการ เนื้อหาความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่องค์การ ศาลยุติธรรมเป็นองค์การภาครัฐที่มีเป้าหมายในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรม ควรปรับเปลี่ยนและพลิกโฉมองค์การเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะตามแนวทาง 5 ประการ คือ (1) การสร้างองค์การสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (2) การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี (3) ปรับรูปแบบและกระบวนการทำงานให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ (4) การพัฒนาโปรแกรม แอปพลิเคชัน นวัตกรรม และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับนำมาใช้ในการทำงาน และ (5) การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่อาจเป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน
References
กฤษณ์ รุยาพร. (2565). การพัฒนาผู้นำในยุคดิจิทัล. วารสารบริหารธุรกิจ, 58, น.100-115.
ฉันทิชา ศาสนธำรง. (2565). แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางธุรกรรมออนไลน์: กรณีศึกษาศาลแพ่ง. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนา
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). Innovative Justice ภาพลักษณ์ใหม่ศาลยุติธรรมมุ่งสู่จุดหมายการเป็นที่พึ่งแห่งแรกของประชาชน. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-64-2/relax-ruen-pae-64-2-1.html
ปาลวี สรนุวัตร. (2557). การยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-court) ของข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชรินทร์ โชติวรานนท์. (2562). เอกสารการอบรมหลักสูตร “ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล” รุ่นที่ 18 วิทยาลัยข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.
โพสต์ทูเดย์ออนไลน์. (2564). Digital Disruption จุดเริ่มและจุดเปลี่ยน. สืบค้นจาก http://posttoday.com/economy/columnist/602086.
มติชนออนไลน์. (2564). Digital Disruption คืออะไร และเราต้องเตรียมรับมืออย่างไร?. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/publicize/news_2936990
เรืองสิทธิ์ ตันกาญจนานุรักษ์ และคณะ. (2562). นโยบายประธานศาลฎีกา. ใน เรืองสิทธิ์ ตันกาญจนานุรักษ์ (บ.ก.), จุลสารศาลฎีกาออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.supremecourt.or.th/storage/booklets/pdf/booklet-5efc5034af50e.pdf
วิรุจน์ วิโรจน์ธนากุล. (2564). ความพร้อมของบุคลากรภาครัฐกับการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการประชาชนของสำนักงานศาลยุติธรรม: กรณีศึกษากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดี สำนักงานศาลยุติธรรม ช่วงเวลา พ.ศ. 2562–2564. (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ) สืบค้นจาก https://digital.car.chula.ac.th/
ศาลยุติธรรม. (2561). วิสัยทัศน์และพันธกิจ. สืบค้นจาก https://www.coj.go.th/th/content/page/index/id/6
สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง. (2567). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สืบค้นจาก https://sto.go.th/national-strategy/
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). บทความเรื่อง Digital Disruption และมาตรการรับมือด้าน HR ของภาครัฐ. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/?post_type=news&p=6226
สุธิพงษ์ โมทารัตน์. (2560). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการก้าวสู่ศาลยุติธรรมดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรามคำแหง, 27(2), 101-116.
_____. (2564). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการก้าวสู่ศาลยุติธรรมดิจิทัล กรณีศึกษาสำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.
Maharatsakul, P and Limlawan, K. (2011.Human resource management in the era of globalization. Executive Journal, 31(41), 168-173.