รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่: การบูรณาการองค์ความรู้หลากมิติเพื่อความเสมอภาคและความยั่งยืน
คำสำคัญ:
การบูรณาการ, องค์ความรู้หลากมิติ, ความเสมอภาค, ความยั่งยืน, รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่บทคัดย่อ
การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสำรวจเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนทัศน์ และทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ ตั้งแต่ยุคดั้งเดิมจนถึงยุคใหม่ โดยมุ่งเน้นการทำความเข้าใจวิวัฒนาการของแนวคิดและทฤษฎีในแต่ละยุค การเปลี่ยนแปลงของกระบวนทัศน์ที่สะท้อนถึงความเชื่อและกรอบแนวคิดทางวิชาการ รวมถึงการนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานภาครัฐ การเปลี่ยนแปลงของกระบวนทัศน์ในแต่ละยุคมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน บางครั้งยังพบความทับซ้อนของทฤษฎีในแต่ละแนวคิด ดังนั้น การศึกษากรอบแนวคิดและทฤษฎีจึงต้องอาศัยมุมมองที่หลากหลายและหลอมรวมความรู้จากหลายสาขา รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่มีเป้าหมายสำคัญในการปรับปรุงโครงสร้างและกลไกการทำงานขององค์กรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร การนำองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ มาใช้เป็นแนวทางสำคัญ ซึ่งหมายถึงการผสมผสานความรู้ ทฤษฎี วิธีการ และมุมมองจากหลากหลายสาขาวิชา เพื่อสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งและรอบด้านต่อประเด็นที่ศึกษา นอกจากนี้ การศึกษายังมุ่งเน้นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาสาธารณะ ผลกระทบขององค์กรที่มีต่อผู้รับและผู้ให้บริการ ตลอดจนการส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรมในกระบวนการบริหารงานภาครัฐ
References
จิรโชค วีระสย, สุรพล ราชภัณฑารักษ์ และสุรพันธ์ ทับสุวรรณ์. (2551). รัฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ไชยา เกศารัตน์. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2551). "ทิศทางและแนวโน้มของรัฐประศาสนศาสตร์" ในประมวลสาระชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการรัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 15 หน้า 439-476. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2552). "ภาพรวมและแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์" ในประมวลสาระชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการรัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 1 หน้า 1-50. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประโยชน์ ส่งกลิ่น. (2551). การปฏิรูปการจัดการภาครัฐ: กรณีศึกษาการจัดการภาครัฐแนวใหม่ในประเทศไทยและสิงคโปร์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2552). "แนวคิด ทฤษฎี และหลักการรัฐประศาสนศาสตร์" ในประมวลสาระชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการรัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 2 หน้า 51-86. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระครูปลัดประวิทย์ วรธัมโม. (2565). รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(3), 587-599.
พระมหาโชตนิพิฐพนธ์ สุทธจิตโต (ผลเจริญ). (2560). แนวทางการศึกษา กรอบแนวคิด และทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
พีระ พรนวม. (2544). ศรัทธาต่อหลักการการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2559). แนวทางการศึกษา กรอบแนวคิด และทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
สุวรรณภูมิ. (2565). วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(3). 52-65.
สถาพร วิชัยรัมย์. (2564). การพัฒนาระบบราชการไทย สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2542). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
อิทธิชัย สีดำ. (2560). สรุปทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ ยุคดั้งเดิม – ปัจจุบัน. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
อวยชัย ชบา และทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2556). "แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจและรัฐประศาสนศาสตร์" ในเอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร. หน่วยที่ 8 หน้า 1-37. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิเชียร วิทยอุดม. (2551). แนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์และทฤษฎีระบบราชการ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิมล์ และไซเท็กซ์.
Henry, N. (1995). Public Administration and Public Affairs. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall, Inc.
Waldo, D. (1968). Public administration in a time of turbulence. Syracuse: Minnow Brook Conference Proceedings.