สภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและ แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน พนักงานครูเทศบาล จำนวน 118 คน รวม 121 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ควรมีอุดมการณ์ที่ชัดเจน มั่นคง แต่สามารถปรับได้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นแบบอย่างที่ดี ตรงต่อเวลา เสียสละ มุ่งมั่นในการทำงาน และมีการบริหารงานที่สอดคล้องกับนโยบายของต้นสังกัด มีการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ร่วมงานอย่างเท่าเทียมกัน มีการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานตลอดจนให้คำแนะนำ และมีการเสริมแรงให้กับผู้ที่สร้างชื่อเสียง ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีการติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดอบรมพัฒนาศักยภาพในการทำงาน และละลายพฤติกรรมครูเพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานของแต่ละบุคคล และไม่ตำหนิผู้ร่วมงานต่อหน้าบุคคลอื่น เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มเพื่อสร้างความเป็นทีมในการทำงาน
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
ชณันภัสร์ ปิยะภัทรวิรัตน์. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดยะลา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ซารีนา เต๊ะ. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาของรัฐชายแดนไทยมาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ดวงพร อาภาศิลป์. (2559). ชื่อเสียงในการเป็นภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยรังสิต. 36(1), 49.
เทศบาลนครอุดรธานี. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี.
เนตรนภา เจตน์จำนงค์. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาของ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ละออ จันทร์ชุม. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับสภาพการ บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
Bass, B.M. & Avolio, B.J. (1994). Improving Organization Effectiveness Through Transformational Leadership. Thousand Oak: Sage Publications.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970).“Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.