การดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

ผู้แต่ง

  • ทัศวรรณ พรมโคตร คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัย, ผู้บริหาร, แนวทางพัฒนาผู้นำ

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลาง ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียน จำนวน 56 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 260 สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม google form ทางอีเมล์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มาตรการป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปรามภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ รองลงมา คือ มาตรการป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปรามภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ มาตรการป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปรามภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มาตรการป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปรามภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาพกายและจิตใจ 2)แนวทางพัฒนาการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหาร คือ ผู้บริหารควรคำนึงถึงบริบทของโรงเรียนและชุมชน เพื่อให้สามารถกำหนดมาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้บริหารควรกำหนดองค์ประกอบของคณะทำงาน โดยควรประกอบด้วยผู้ที่มีทักษะและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับงาน ผู้บริหารควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักตนเอง และผู้บริหารและครูควรออกแบบกิจกรรมให้หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงออกในหลากหลายรูปแบบตามความสามารถของตนเอง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

ขวัญเรือน ภาคบุบผา. (2559). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2561). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

ไวกูณฐ์ เหมือนทอง. (2564, พฤศจิกายน). การประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนอนุบาลสวี (บ้านนาโพธิ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(11), 1-17.

ศิริพรรณ เกตุแก้ว. (2558). การดำเนินการรักษาความปลอดภัยตามมาตรการป้องกัน และแก้ไขปัญหาทางสังคมของโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์, 9(3), 170 -180.

สมหมาย จันทร์เรือง. (2562). ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ. สืบค้นเมื่อ 5 กรฎาคม 2566, จาก https://ectl.siam.edu/courses/master-of-education-educational-administration-and-leadership-2/lesson/2562-2-751-225.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2566, จาก https://web.trat-edu.go.th/wp-content/uploads/2021-A2-2556.pdf

อดิศร ดีปานธรรม (2561) การพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measuremen, 3 (3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-02

How to Cite

พรมโคตร ท., & อุสาโห ก. . (2024). การดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 2(2), 531–540. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/413