ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุค 5.0 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตเทสรังสี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

ผู้แต่ง

  • กิตติ์ณัฐ สุนทรวิสัย คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ 5.0, ผู้บริหารสถานศึกษา, แนวทางพัฒนาผู้นำ

บทคัดย่อ

      การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุค 5.0 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตเทสรังสี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 103 คน ได้มาโดยสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม google form ได้รับตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 85.44 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการในยุค 5.0 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตเทสรังสี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก รายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสุดสุด คือ ด้าน รองลงมา คือ ผู้นำต้องสร้างความเร็วและผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ และวัฒนธรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านเข้าใจ  2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุค 5.0 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ ในการกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างและพัฒนา นวัตกรรมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ควรทำความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยกว่านี้ ควรเป็นผู้นำดิจิทัลในสถานศึกษาที่ส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนมีทั้งความรู้เทคโนโลยีการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การหาโอกาสและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ควรเป็นผู้นำที่เร็วจะสร้างผลลัพธ์ที่ดีเลิศในหลายด้าน และควรบูรณาการประสบการทางด้าน IT มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรของตนเอง

References

กมลพร กลมเกลี้ยง. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิตรกร จันทร์สุข. (2564). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ. 15(2), 36 -49).

จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์. (2564) การพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษายุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2566 จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/QLLJ/article/view/261854/178235

ธวัชชัย แสนดวง. (2565). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. ครุศาสตร์สาร, 13(2), 285 - 294.

นวพัฒน์ ชัชวาลย์ (2566) การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(1), 170 -182.

นิตนิภา เสนาฤทธิ์. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายเกาะช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2561). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ฝนทิพย์ หาญชนะ และ คึกฤทธิ์ ศิลาลาย. (2565) . ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียน สหวิทยาเขตชลบุรี1สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. วารสารร้อยแก่นสาร, 7(6), 117-133

ภูรีรัตน์ สุกใส. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พรวลี ตรีประการ. (2564). สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

พิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล. (2564). Leadership 5.0 ผู้นำยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.wearecp.com/hrcp-20122021/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-02

How to Cite

สุนทรวิสัย ก., & อุสาโห ก. . (2024). ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุค 5.0 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตเทสรังสี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 2(2), 387–400. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/350