การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ: กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และมาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • พระนักรบ เชื้อวังคำ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วิริยะ หอมไกรลาศ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • จัตุพร ภูบุญลาภ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • นุชชัญญา เฉลิมชาติ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ภาณุวัฒน์ ศิริประเสริฐ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ณิชมน พิทักษ์กุล สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การปฏิรูป, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการปฏิรูปโครงสร้างการปกครององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศกรณีศึกษา ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และมาเลเซีย เพื่อให้เห็นปัญหา และการจัดรูปแบบการบริหารจัดการใหม่ของท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาการร่วมมือของประชากรกับหน่วยงานรัฐ เพื่อประสิทธิภาพจากเดิมทำสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น บทความทางวิชาการในการปฏิรูปโครงสร้างของต่างประเทศชี้ให้เห็นว่าประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมันและมาเลเซีย ได้เคยมีประสบการณ์ในการปฏิรูปโครงสร้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การยุบรวมท้องถิ่นเข้าด้วยกันล้วนมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือการพัฒนาด้านบริหารจัดการ งบประมาณ คน อุปกรณ์เครื่องมือ ให้มีประสิทธิภาพในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง จากการศึกษาบทความทางวิชาการจะเห็นได้ว่าข้อดีของการปฏิรูปโครงสร้างคือ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากร 2) การสร้างความร่วมมือของประชาชนตามระบอบการปกครองประชาธิปไตยโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้นั้นนั้นได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น 3) เพื่อสร้างการบริการที่ทั่วถึงให้กับประชาชน 4) ข้อเสีย ทำให้เกิดความสับสนในด้านโครงสร้างการปกครองท้องถิ่น หรือซ้ำซ้อนในพื้นที่ และการบริหารจัดการที่ล่าช้าไม่มีความจำเป็นและเหมาะสมต่อการพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะชุมชนเมืองที่กำลัง ขยายตัว เพราะอาจจะติดขัดเรื่องงบประมาณและระเบียบ กฎหมายรองรับ

References

ชัชวินธ์ ตันติเวชวาณิชย์ และวสันต์ เหลืองประภัสร์. (2538). แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นในประเทศไทย. ศึกษาเปรียบเทียบความร่วมมือและการยุบรวมท้องถิ่นในต่างประเทศ. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นรนิติ เศรษฐบุตร. (2551). สำรวจเขตการปกครองท้องถิ่นชนบทอเมริการ: เค้าตี้แจสเปอร์ รัฐเท็กซัส. วารสารปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2551.

นิยม รัฐอมฤต, พรชัย เทพปญญา และชาญชัย ลวิตรังสิมา. (2520). การปกครองทองถิ่นเปรียบเทียบ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ปรัชญา เวสารัชช. (2543). การปกครองทองถิ่นของสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี. กรุงเทพฯ: โครงการสงเสริมการบริหารจัดการที่ดีโดยกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น.

ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์ (2556). ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) สุมามาลย์.

วัชรินทร์ อินทพรหม. (2560). การปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-27