การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขต บึงกาฬ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ
คำสำคัญ:
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ผู้บริหารสถานศึกษา, แนวทางพัฒนาบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบึงกาฬ ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียน จำนวน 5 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอน จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม google form ได้รับตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 77.50 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 3.91, S.D = 0.45) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การส่งต่อนักเรียน รองลงมา คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน การส่งเสริมนักเรียนและพัฒนานักเรียน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2. แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ ควรจัดโครงการเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบปัญหาความเป็นอยู่ที่บ้านของนักเรียน และสร้างสัมพันธภาพอันดีกับนักเรียนจนนักเรียนเกิดความไว้วางใจ ควรจัดให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมและแบ่งกลุ่มนักเรียนตามความถนัด และควรมีการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนกลุ่มเสี่ยงได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับให้คำแนะนำในเรื่องการปรับตัวและการวางตัวรวมถึงมารยาททางสังคมให้กับผู้เรียน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนประจำปี 2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ขวัญเนตร มูลทองจาด. (2564). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี.
การค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณรงค์ โคตรเพ็ง. (2559). ระดับการปฏิบัติและระดับปัญหาของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(10), 1192 -1207.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
ปกาวรรณ แก้วโพธ์. (2559). ผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
วราวุฒิ เหล่าจินดา. (2559). สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32.
ศุกร์เกษม ปรุงผล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ ค.ม. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
ศิวา ขุนชำนาญ. (2564). การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 [Symposium]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการคุ้มครองและการช่วยเหลือเด็กนักเรียนของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ. (2566). แผนการศึกษา พ.ศ. 2566 -2570. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566 จาก https://www.sesaobk.go.th/
สุธิดา พงษ์สวัสดิ์. (2561). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนื่องบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 304 - 314.
อดิศร แย่งคุณเชาว์. (2559). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อรรถพล สุนทรพงศ์. (2565). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). DeterminingSample Size for Research Activities. Phychological Measurement, 30(3), 607-610.