การบริหารงานพัสดุของผู้บริหารโรงเรียนเชียงเพ็งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 1 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ยุทธศักดิ์ หนูราช คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การบริหารงานพัสดุ, ผู้บริหาร, แนวทางพัฒนา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุของผู้บริหารโรงเรียนเชียงเพ็งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 1 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลครั้งนี้ จำนวน 56 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม google form ได้รับตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย ดังนี้ 1. สภาพการบริหารงานพัสดุของโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย (gif.latex?\bar{x}= 4.30, S.D.= 0.44)  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเก็บ การบันทึก และการเบิกจ่าย รองลงมาคือ ด้านการยืม ด้านการจำหน่ายพัสดุ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบำรุงรักษา และการตรวจสอบ 2. แนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียน เรียงลำดับค่าความถี่จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ควรตรวจสอบครุภัณฑ์เป็นประจำและทำการซ่อมแซม บำรุงรักษาก่อนใช้งานจัดระบบสารสนเทศทะเบียนคุมวัสดุครุภัณฑ์เป็นปัจจุบันเมื่อเกิดสูญหายไป ควรให้ผู้ยืมชดใช้ค่าใช้จ่ายเป็นพัสดุ ควรให้ความสำคัญในการจัดหาสถานที่ในการจัดเก็บครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพไม่สามารถใช้งานได้ และจำหน่ายในระยะเวลาที่กำหนด และบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านพัสดุควรได้รับการอบรมพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบพัสดุ

References

ชุติมา สรรพโส (2562). สภาพและปัญหาการดำเนินงานพัสดุผ่านระบบสารสนเทศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จุฑามาศ เสมามอญ. (2558). ปัญหาและแนวทางพัฒนงานพัสดุของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตระยอง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เดชา สมคะเณย์. (2565). การบริหารงานพัสดุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี.

ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 210 ง. หน้า 65-70. 23 สิงหาคม 2560.

รัชดาพร บุญตา. (2561). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานพัสดุของ โรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตพนมสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุภารัตน์ อ่ำชุ่ม. (2559). ปัญหาการบริหารงานพัสดุของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุวัช มูลเมืองแสน. (2563). สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตตรวจราชการที่ 11. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 1. (2565). แผนปฎิบัติการประจำปี 2565. อัดสำเนา.

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Krejcie, R. V. & Morgan D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-27

How to Cite

หนูราช ย., & อุสาโห ก. . (2023). การบริหารงานพัสดุของผู้บริหารโรงเรียนเชียงเพ็งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 1 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 1(3), 390–302. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/215