ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เทพพร เต็มตาวงศ์ คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหาร, แนวทางพัฒนาผู้นำ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มโซนรักษ์ชะโนด ประชากรหน่วยที่ศึกษา คือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด จำนวน 4 อำเภอ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย (gif.latex?\bar{x} = 4.15, S.D = 0.67) ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนแปลง รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการทำงาน เป็นทีมและมีส่วนร่วม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารความเสี่ยง 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม คือ ผู้บริหารควรศึกษาข้อมูลและยอมรับ การเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบันนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาวิสัยทัศน์ของสถานศึกษายึดหลัก ความเป็นจริง สร้างทีมงานในการพัฒนาให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กำหนดนโยบายการพัฒนามุ่งเน้น ให้ผู้บริหารโรงเรียนมีเป้าหมายในการคิดสร้างสรรค์ให้ชัดเจน ศึกษาหาความรู้หรือข้อมูลรวมทั้ง กฎหมายต่างๆ โดยยึดถือความถูกต้องของการทำงานตามระเบียบแบบแผน ใช้ความรู้เกี่ยวกับ นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ นำมาใช้ในสถานศึกษา และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น

References

กนกวรรณ จันทรนิมะ. (2564). ภาวะผู้นำและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 10(39), 93 -101.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ่การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563. สืบค้น 25 มิถุนายน 2564, จาก https://moe360.blog.com

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธีระ รุญเจริญ (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอก รอบ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

เนาวรัตน์ เยาวนาถ. (2562). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระแขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

เบญจมาศ ขวาไทย. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10 (39), 207 - 214.

พรพิมล อินทรรักษา. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 6(3), 121 -127.

เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุดรธานี. (2566). แผนการศึกษาระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565). อุดรธานี: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุดรธานี

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.

Best John W. and Khan, Jame V. (1998). Research in Education. (8th.edition). Boston: Allyn & Bacon.

Krejcie, R. V. & Morgan D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measuremen. 30(3), 607 - 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

How to Cite

เต็มตาวงศ์ เ., & อุสาโห ก. . (2023). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุดรธานี. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 1(2), 116–133. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/204