ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเน้นภาระงานที่มีต่อทักษะการอ่าน เชิงวิชาการของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ในรายวิชา การบูรณาการการอ่าน เชิงวิชาการกับการพัฒนาองค์กรวิชาชีพของครูภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • วิภาศิริ แจ้งแสงทอง หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน, ทักษะการอ่านเชิงวิชาการ, องค์กรวิชาชีพครูภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแบบเน้นภาระงานที่มีต่อทักษะการอ่านเชิงวิชาการ เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านเชิงวิชาการของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเน้นภาระงาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเน้นภาระงาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ภาคเรียนที่ 2/2567 จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน  มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 4.89 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 6 ข้อ 30 คะแนน มีค่าความเชื่อมั่น 0.88  แบบวัดทักษะการอ่านเชิงวิชาการ จำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน มีค่าความเชื่อมั่น 0.82 และแบบสอบถามความพึงพอใจแบ่งออกเป็น 3 ด้าน จำนวน 21 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.81 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเน้นภาระงานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านเชิงวิชาการของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในทุกองค์ประกอบและนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเน้นภาระงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิภาศิริ แจ้งแสงทอง. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา อส 5100303 ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรมโดยใช้เทคนิคการสอนอ่านแบบ SQ4R ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 13(2), 75–90. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/254053.

วิภาศิริ แจ้งแสงทอง และธมนวรรณ ตะวันนา. (2567). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Present Simple Tense โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐาน (Task-Based Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(4), 779–794. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277210.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. https://office2021.ksed.go.th/wp-content/uploads/2020/12/แผนการศึกษาแห่งชาติ-พ.ศ.2560-2579.pdf.

Boone, H. N., & Boone, D. A. (2012). Analyzing Likert Data. The Journal of Extension, 50(2), Article 48. https://doi.org/10.34068/joe.50.02.48.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). Harper & Row.

Ellis, R. (2019). Task-based language teaching. John Benjamins Publishing Company.

Fitz-Gibbon, C. T., & Morris, L. L. (1987). How to design a program evaluation (2nd ed.). Sage Publications.

Garton, S., & Copland, F. (Eds.). (2018). The Routledge handbook of teaching English to young learners. Routledge.

González-Lloret, M., & Ortega, L. (2021). Technology-mediated TBLT: Integrating tasks and technology in language education. Language Teaching Research, 25(3), 345–367.

Grabe, W., & Stoller, F. L. (2019). Teaching and researching: Reading (3rd ed.). Routledge.

Krashen, S. D., & Terrell, T. D. (1998). The natural approach: Language acquisition in the classroom. Prentice Hall Europe. https://www.sdkrashen.com/content/books/the_natural_approach.pdf.

Krathwohl, D. R. (2002). A Revision of Bloom’s Taxonomy: An Overview. Theory Into Practice, 41(4), 212–218. https://doi.org/10.1207/s15430421tip4104_2

Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151–160.

Richek, M. A., List, L. K. & Lerner, J. W. (1989). Reading Problems: Assessment and Teaching Strategies (2nd ed.). Prentice-Hall.

Richards, J. C., & Rodgers, T. S. (2014). Approaches and methods in language teaching (3rd ed.). Cambridge University Press.

Sarani, A., & Farzaneh Sahebi, L. (2012). The impact of task-based approach on vocabulary learning in ESP courses. English Language Teaching, 5(10), 118–128. http://dx.doi.org/10.5539/elt.v5n10p118.

Shintani, N. (2011). Task-based language teaching versus traditional production-based instruction: Do they result in different classroom processes? University of Sydney Papers in TESOL, 6, 97–120.

Willis, D., & Willis, J. (2007). Doing task-based teaching. Oxford: Oxford University Press.

Willis, J. (1996). A framework for task-based learning. London: Longman.

Yu, H.-q. (2007). Application of TBT in reading class. US-China Education Review, 4(5), 39–42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-04

How to Cite

แจ้งแสงทอง ว. (2025). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเน้นภาระงานที่มีต่อทักษะการอ่าน เชิงวิชาการของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ในรายวิชา การบูรณาการการอ่าน เชิงวิชาการกับการพัฒนาองค์กรวิชาชีพของครูภาษาอังกฤษ. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(2), 787–801. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1850