การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ครีมทาส้นเท้าจากเปลือกกล้วยแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอปากชม จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา; การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์; การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนพื้นที่อำเภอปากชม จังหวัดเลย และศึกษาการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ครีมทาส้นเท้าจากเปลือกกล้วยแบบมีส่วนร่วม การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ประชากร คือ กลุ่มคนจนเป้าหมายทั้ง 6 ตำบลในอำเภอปากชม จังหวัดเลย รวมทั้งสิ้น 322 คน มีผู้ที่สนใจต้องการเข้าร่วมดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาอาชีพและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ครีมทาส้นเท้าจากเปลือกกล้วยแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอปากชม จังหวัดเลย จำนวน 138 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ครีมทาส้นเท้าจากเปลือกกล้วยแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัยพบว่า หลังจากมีการประชุมกลุ่มกับกลุ่มคนจนเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาอาชีพและเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบในท้องถิ่นให้เป็นผลิตภัณฑ์ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตครีมทาส้นเท้าจากกล้วยให้แก่ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่มีความสนใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสกัดสารลูทีนจากเปลือกกล้วย มีการปรับเปลี่ยนวิธีการสกัดจากสกัดด้วยเครื่องสกัดแอลกอฮอล์ เป็นวิธีการเจียวด้วยความร้อนและได้เป็นครีมทาส้นเท้าสารสกัดจากเปลือกกล้วย รวมถึงได้ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อจัดจำหน่ายต่อไป
References
กรมการปกครอง. (2566). ข้อมูลครัวเรือนยากจน. สืบค้น 21 ธันวาคม 2567 จาก https://thaiqm.dopa.go.th/tqu_67.php.
นพดล ชูเศษ, กุลธิรา แซ่โซว, ดวงฤดี อุทัยหอม และลิขิต ลาเต๊ะ. (2567). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาบน้ำและสระผมโดยการเพิ่มสารสกัดจากรำข้าวหอมและการสื่อสารการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรข้าวแปลงใหญ่หนองอ้ายแท่น จังหวัดสงขลา. วารสารบริหารธุรกิจและการจัดการปริทัศน์, 16(2), 102-121.
รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปกร ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 994-1013.
วรานันท์ บัวจีบ, วีณา จิรัจฉริยากูล และวรางคณา ชิดช่วงชัย. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสมุนไพรไทยทางทันตกรรม: ยาสีฟันพริกพรานและน้ำยาบ้วนปากพริกพรานสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.). กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
สาคร สุขศรีวงษ์. (2557). การจัดการจากมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซเบอร์พรินท์
สำนักงานจังหวัดเลย. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดเลย พ.ศ. 2566 - 2570. สืบค้น 21 ธันวาคม 2567 จาก https://ww2.loei.go.th/news strategy.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปากชม จังหวัดเลย. (2567). แผนพัฒนาท้องถิ่น 2566-2570. สืบค้น 21 ธันวาคม 2567 จาก https://district.cdd.go.th/pakchom/service/community-plan/.
อัจจิมา ศุภจริยาวัตร. (2565). แนวทาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการส่งออก กรณีศึกษากลุ่มผ้าไหมทอมือบ้านสุขสำราญ จังหวัดสระแก้ว. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 5(1), 429-444.
Burkard, K. (2020). Why Value-add Marketing is the Only Marketing Worth Doing (and How to Get Started). Retrieved 21 December 2024 from https://blog.smile.io/value-add-marketing-only-marketing-worth-doing/.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, 8(3), 213–235.
Department of Business Development (DBD), Ministry of Commerce. (2016). Value Creation Handbook. Retrieved 23 December 2024 from https://www.dbd.go.th/download/article/article_20161103115457.pdf.
Kosaikanon, S. & Thongdeelert, P. (2019). Development of Community Enterprise Potential Assessment form by Participation According to Opinion of Sakaeo Community Enterprise Representatives, Sakaeo Province. Journal of Vocational and Technical Education (JVTE), 9(17), 1-9.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York. Wiley & Son.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). National strategy (2018–2037): Summary. Retrieved 23 December 2024 from https://bic.moe.go.th/images/stories/pdf/National_Strategy_Summary.pdf.
Petchboonmee, P. (2023). Value Added of Hemp Fabric Products based on Local Culture and Ethnic Tribal Of Ban Pa Kha Mai, Khirirat Sub-district, Phop Phra District, Tak Province. Journal of Management Science Review, 25(1), 165-179.
Phrakrusirithammabandit, Watthanabut, B., Sripraschayanona, S., & Srisuk, N. (2023). Development of Creative Economy Products from Network of Temple Museums and Communities in Lampang Province. The Journal of Research & Academics, 6(2), 1-14.
Porter, M. E., and Kramer, M. R. (2006). The link between competitive advantage and corporate social responsibility. Harvard Business Review, 84(12), 42-56.