การพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษโดยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • จุลนีย์ ชัยเสริม หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT), วิธีสอนแบบโฟนิกส์, ความสามารถการอ่านออกเสียง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาการจัดการเรียนรู้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2.เปรียบเทียบความสามารถการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนห้องที่ได้รับการจัดการเรียนรู้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการเรียนภาษาอังกฤษ โดยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลโพนทอง ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t –test ผลการวิจัย พบว่า 1. การจัดการเรียนรู้โดยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 81.21/80.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (75/75) 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ มีความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จีรนันท์ เมฆวงษ์. (2547). การพัฒนาความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษและความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิกส์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณภัทร นรชาญ, สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ และเด่นชัย ปราบจันดี. (2566). ผลการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) และการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ LINGUA FRANCA CORE ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 5(2), 16–30. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/262891.

นฤมล สุปินโน. (2558). ผลการใช้วิธีสอนแบบโฟนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ และเจตคติ ต่อการอ่านแบบโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาป่าแปก จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรชัย ผาดไธสง. (2560). การพัฒนาหลักสูตร. นครราชสีมา: โฟโต้บุ๊คดอทเน็ต.

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ นำไปสู่การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

พิมพ์พร บังวัด (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารประกอบสื่อประสม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมภรณ์ พวงชื่น และวิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำภาษาอังกฤษด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิค สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(1), 19–29.

ไพพรรณ อินทนิล. (2546). การส่งเสริมการอ่าน. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์.

โรงเรียนอนุบาลโพนทอง. (2566). สรุปรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566. ร้อยเอ็ด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3

ละเอียด จุฑานันท์. (2541). แนวการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ลำยง เครือคำ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความโดยใช้แผนที่ความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วิไล ตันเสียงสม. (2548). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศมหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิบูลศรี กิ่งแก้ว. (2552). การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง วิชาาภาษาไทย เรื่องลลิติตะเลงพ่าย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สันทนา สุธาดารัตน์. (2557). ภาษาศาสตร์สำหรับครู (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anderson, R. C. (1985). Role of Reader’s Schema in Comprehension, Learning, and Memory. In H. Singer & R. B. Ruddell (Eds.), Theoretical Models and Processes of Reading (3rd ed., pp. 372–384). Newark, DE: International Reading Association.

Harris, D. P. (1996). Testing English as a Second Language. New York: McGraw-Hill.

Hempenstall, K. (2002). Phonological processing and phonics: Towards an understanding of their relationship to each other and to reading development. Australian Journal of Learning Disabilities, 7(1), 4–28. https://doi.org/10.1080/19404150209546689

Weaver, C. (1994). Reading Process and Practice from Socio-Psycholinguistics to Whole Language (2nd ed.). Portsmouth, NH: Heinemann.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-05

How to Cite

ชัยเสริม จ. (2025). การพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษโดยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(1), 243–257. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1581