การดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตเทสรังสี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย
คำสำคัญ:
การดำเนินงาน, สถานศึกษาปลอดภัย, ผู้บริหาร, แนวทางพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตเทสรังสี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเทสรังสี จำนวน 103 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มาตรการป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปรามภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ รองลงมา คือ มาตรการป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปรามภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ มาตรการป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปรามภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มาตรการป้องกัน ปลูกฝังและปราบปรามภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาพกายและจิตใจ 2. แนวทางพัฒนาการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหาร คือ ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และทักษะทางสังคมให้แก่นักเรียน ควรตรวจสอบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียนให้ปลอดภัยอยู่เสมอ ควรจัดตั้งช่องทางรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นความลับ และปลอดภัย และควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจให้แก่นักเรียนและบุคลากร
References
กนกอร อุ่นสถานนท์. (2563). การบริหารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 10(2), 1-14.
กฤษฎา ศรีสุชาติ. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้และคูมือโรงเรียนปลอดภัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(3), 259-272.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
กิ่งกนก กิณเรศ, อภิสิทธิ์ สมศรีสุข และพรเทพ เสถียรนพเก้า. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารวิชาการ, 5(6), 165-178.
ขวัญเรือน ภาคบุบผา. (2559). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สุจินตนา ตรงประสิทธิ์. (2560). การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
จิตรจรูญ ทรงวิทยา. (2561). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 3(1), 41–57.
ปัทมา ประทุมสุวรรณ. (2562). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ปาริฉัตร โชติขันธ์. (2560). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์เด็ก. (2557). โรงเรียนคุ้มครองเด็ก ตอน ความปลอดภัยในโรงเรียน เรื่องใหญ่ที่ต้องให้ความเข้าใจ. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.thaichildrights.org/articles/article-violence/โรงเรียนคุ้มครองเด็ก-ต-5/.
ยุทธนา เกื้อกูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิรัตน์ พงษ์มิตร. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริพรรณ เกตุแก้ว และปองสิน วิเศษศิริ (2557). การดำเนินการรักษาความปลอดภัยตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมของโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกสทางการศึกษา, 9(3), 170–180.
สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 (2556 ). สพป.อุตรดิตถ์ เขต1 และ เขต 2 จับมือร่วมพัฒนา พสน. สร้างความปลอดภัยให้นักเรียน และขยายจำนวน พสน. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.obec.go.th/archives/822267.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556. สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
อดิศร ดีปานธรรม. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
อาร์คีรารัตน์ วรรณรัตน์ และเสาวนี ตรีพุทธรัตน์. (2557). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(4), 210-219.
อัจฉรา จงดี. (2560). การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎรําไพพรรณี.
Hidayati Nurul., et al. (2012). The impact of school safety zone ends roadside activities on speed behavior: the Indonesian case. Procedia-Social and Behavioral Sciences.
Vicario, A. D. (2012). Safety management in Catalonia’s schools. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 46(2), 3324 – 3328.