คุณภาพการให้บริการการเยี่ยมผู้ต้องขังด้วยแอปพลิเคชันไลน์ของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ยุพาพร สาระเวก หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการภาครัฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี
  • ชัยมงคล สุพรมอินทร์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการภาครัฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี
  • มณิภัทร์ ไทรเมฆ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการภาครัฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, การเยี่ยมผู้ต้องขัง, แอปพลิเคชันไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการการเยี่ยมผู้ต้องขังผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จังหวัดปทุมธานี และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการการเยี่ยมผู้ต้องขังผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จังหวัดปทุมธานี ตามปัจจัยส่วนบุคคลของญาติต้องขัง จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความสัมพันธ์กับผู้ต้องขัง และภูมิลำเนาของผู้ต้องขัง โดยเปรียบเทียบคุณภาพ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจได้ ด้านความตอบสนองต่อประชาชน ด้านการให้ความมั่นใจแก่ประชาชน และด้านการเข้าใจและรู้จักประชาชน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ญาติของผู้ต้องขังของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จำนวน 320 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 คน ได้แก่ ผู้บริหาร 2 คน ผู้ปฏิบัติงาน 2 คน และญาติผู้ต้องขัง 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ระดับคุณภาพการให้บริการเยี่ยมผู้ต้องขังด้วยแอปพลิเคชันไลน์ของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จังหวัดปทุมธานี โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี และผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของญาติผู้ต้องขังตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และภูมิลำเนา พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการเปรียบเทียบตามปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับผู้ต้องขัง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมราชทัณฑ์ (2567) สถิติจำนวนสถิติจำนวนผู้ต้องขังของไทย พ.ศ.2553 – 2567 สืบค้นจาก http://www.correct.go.th/stathomepage/

กิจดี ยงประกิจ. (2559). การรับรู้คุณภาพการให้บริการของผู้ใช้บริการ บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ ภูมิความรู้ความชำนาญและรูปแบบการคิดของผู้ประกอบการธุรกิจบูติกโฮเต็ลที่ได้รับรางวัลในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เกษม อิทธิวุฒิ, & พิพัฒน์ ไทยอารี. (2561). ความพึงพอใจต่อการบริการเยี่ยมญาติทางไกลผ่านจอภาพ และผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของเรือนจำกลางบางขวาง (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

จรัล ยศชัย. (2563). คุณภาพการให้บริการในการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการรับบริการของญาติผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จุฑาทิพย์ โชติพงศ์หิรัณย์, จรัสศรี รูปขาวดี, สุลีมาศ คามุง, คำพันธ์ อัครเนตร, & วิเชียร ศรีพระจันทร์. (2563). ความคิดเห็นของญาติที่มีต่อการให้บริการเยี่ยมผู้ต้องขังหญิงเรือนจำ จังหวัดพะเยา. สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

โชคชัย พันธุพล, ชินโสณ์ วสิฐนิธิกิจา, & อิงอร ตั้นพันธุ์. (2566). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเยี่ยมผู้ต้องขังผ่านจอภาพด้วยแอปพลิเคชันไลน์ของเรือนจำพิเศษมีนบุรี. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 136-145.

ทยุฎ วงษ์พิทักษ์โรจน์. (2562). การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้คุ้มครองสิทธิการเยี่ยมผู้ต้องขังผ่านระบบงานศาล: ศึกษาเฉพาะกรณีศาลจังหวัดพิมาย (เอกสารวิชาการรายบุคคล หลักสูตร “ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล” รุ่นที่ 18). วิทยาลัยข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม, สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม, สำนักงานศาลยุติธรรม. ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง. (2567). เอกสารรายงานสถิติยอดผู้ต้องขังเยี่ยมไลน์ของส่วนสวัสดิการและสงเคราะห์ผู้ต้องขัง (รายงาน). ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง, กรมราชทัณฑ์, กระทรวงยุติธรรม.

ปิยรัฐ จำแถว, อิสริยา เพ็งแสน, & เชษฐ์ ใจเพชร. (2566). ความคิดเห็นของญาติผู้ต้องขังที่มีต่อคุณภาพการบริการเรือนจำไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 4(1), 55–65.

ธีรภัทร กตัญญูทวีกูล. (2558). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, สาขาวิชาการจัดการบริการสังคม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ (สุเทพ) ดีเยี่ยม. (2566). การยกระดับองค์กรภาครัฐสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัล. วารสารวิชาการแสงอีสาน, 20(1), 122. อีเมลผู้ประสานงาน: sutep111_dee@hotmail.com.

ภาวิณี ทองแย้ม. (2560). ความสำคัญของคุณภาพการบริการต่อความสำเร็จของธุรกิจ. วารสารเกษมบัณฑิต, 18(1), 219-230.

ภูดล รัตนโชติวงศ์กุล. (2564). การให้บริการงานเยี่ยมญาติเรือนจำกลางคลองไผ่. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(1), 53-65

ภูมินทร์ บุตรอินทร์. (2556). การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย. กรุงเทพฯ: เปนไท.

มานะ อิศเรนทร์, จักรวาล สุขไมตรี, กีรติวรรณ กัลยาณมิตร & สัณหณัฐ จักรภัทรวงศ์. (2565). สภาพปัญหาการให้บริการผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังของเรือนจำจังหวัดระนอง. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 5(2), 68–82

เลิศพงศ์ สุนทรพงศาธร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลในช่วงสถานการณ์ของ COVID-19 [ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. คลังข้อมูล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศิรประภา วิริยะพาหะ. (2563). การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขัง: ศึกษาเฉพาะกรณีสิทธิในการเยี่ยมเพื่อใช้ชีวิตครอบครัวและการเยี่ยมเพื่อใช้ชีวิตคู่ของผู้ต้องขัง (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

สุรีย์นิภา ไทยประยูร. (2561). การศึกษาการรับรู้คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อการตัดสินใจจ้างผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาบริษัท A (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ). ธันวาคม 2561

สุวิมล ติรกานันท์. (2548). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ.(พิมพ์ครั้งที่9).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรควุฒิ ปันผาง, อรุณ ไชยนิตย์, และอนันต์ รุ่งพรทวีวัฒน์. (2566). ประสิทธิผลโครงการเยี่ยมญาติผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง. วารสารศิลปการจัดการ, 7(3), 1136-1154

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334.

Hoque, U. S., Akhter, N., Absar, N., Khandaker, M. U., & Al-Mamun, A. (2023). Assessing service quality using

SERVQUAL model: An empirical study on some private universities in Bangladesh. Trends in Higher Education, 2(1), 255–269. https://doi.org/10.3390/higheredu2010013

Mears, D., et al. (2012). Title of the article or book. Journal Name, Volume(Issue), pages.

Nurse, A. (2002). Title of the article or book. Journal Name, Volume(Issue), pages.

Palmer, E. J., Hatcher, R. M., & Tonkin, M. J. (2020). Evaluation of digital technology in prisons. Ministry of Justice. https://www.justice.gov.uk/publications/research-and-analysis/moj

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Yamane, T. (1973). Statistic : An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper And Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-02

How to Cite

สาระเวก ย., สุพรมอินทร์ ช., & ไทรเมฆ ม. (2025). คุณภาพการให้บริการการเยี่ยมผู้ต้องขังด้วยแอปพลิเคชันไลน์ของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จังหวัดปทุมธานี. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(1), 121–135. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1529