การบริหารงานด้านวิชาการศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2

ผู้แต่ง

  • ฐิตาพร เที่ยงพร้อม หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • สุรางคณา มัณยานนท์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การบริหารงานด้านวิชาการ, ผู้บริหารโรงเรียน, แนวทางพัฒนา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการบริหารงานด้านวิชาการศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 88 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำแนกตามตำแหน่งครู เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทางออนไลน์ google form วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้านที่สูงสุด คือ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และรายด้านที่ต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2) แนวทางพัฒนา ประกอบด้วย  2.1) ผู้บริหารและครูจัดตั้งคณะทำงานร่วมวิเคราะห์สมรรถนะดิจิทัลสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ 2.2) พัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลพร้อมคลังสื่อการสอนที่แบ่งปันได้ 2.3) จัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก พัฒนาแพลตฟอร์มนิเทศออนไลน์ศูนย์เครือข่ายฯ มุ่งพัฒนาการเรียนรู้แบบเชิงรุกผ่านโครงงาน การทดลอง 2.4) สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยพัฒนาระบบนิเทศออนไลน์ การวัดผลประเมินผลที่เป็นมาตรฐาน 2.5) การพัฒนาสื่อนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับครู และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างโรงเรียนในเครือข่าย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

References

กฤษณา ขันตา. (2558). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ณัชพิมพ์ สืบเสนาะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดวงกมล ปถคามินทร์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาในเขตอำเภอสนามชัยเขต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทวีวัฒน์ อินทรประเสริฐ. (2559). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ธัญศญา ธรรศโสภณ และจุฑารัตน์ นิรันดร์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 9(2), 98-109.

ธิษตยา ภิระบัน. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

ธีระชัย ช่วงบุญศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

ประจักษ์ ยอดเมิน. (2563). แนวทางการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (หนองบัวลำภู). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปฐวี อ่ำศรี และธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 7(2): 326-337.

เพ็ญพิศ ผาพองยุน. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยสันตพล.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มนตรี.

มาลัย วงศ์ฤทัยวัฒนา. (2560). รูปแบบการบริหารงานศูนย์ประสานงานทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

รัตนกร พรมวังขวา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

วัชรพร แสงสว่าง. (2563). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิทรัตน์ ทองผา. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการและการจัดการความรู้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 5, 23 พฤษภาคม 2563 หน้า 1210-1217. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

ศิริ ถีอาสนา. (2557). เทคนิคการจัดการคุณภาพแนวใหม่ : แนวคิด หลักการสู่การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศุภรัตน์ ปุ้งข้อ. (2558). สภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในกลุ่มเครือข่ายเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมควร ชุมชอบ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. (2563). รายงานผลการดาเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. หนองบัวลำภู: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุทธิรา เกษมราษฎร์. (2559). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู โรงเรียนกลุ่มบางละมุง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุนันท์ รุ่งอรุณแสงทอง. (2561). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรนุช พลศักดิ์. (2557). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational administration: Theory, research, and practice (6th ed.). New York, NY: McGraw-Hill.

Koontz, H.D. & O’Donnell, C. (1972). Principles of management: An analysis of managerial functions. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-03

How to Cite

เที่ยงพร้อม ฐ., อุสาโห ก., & มัณยานนท์ ส. (2025). การบริหารงานด้านวิชาการศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(1), 218–229. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1479