ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ อำเภอกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์,, ศตวรรษที่ 21,, ผู้บริหารสถานศึกษา,, ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21 และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด จำนวน 103 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู จำนวน 8 คน พนักงานราชการ/จ้างเหมาฯ จำนวน 95 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนตามสัดส่วน และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และแบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ google form ทางอีเมล์ 98 คน คิดเป็นร้อยละ 95.15 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21
ของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาพบว่า
ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ รองลงมา คือ ด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์ และด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการประเมินวิสัยทัศน์ 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดประชุม
ระดมสมองจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายแต่เป็นไปได้ ควรสื่อสารผ่านช่องทางที่หลากหลาย
และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ ใช้สื่อที่น่าสนใจและเข้าใจง่าย ควรให้รางวัลและยกย่องผู้ที่ปฏิบัติงานสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ปรับโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ ควรกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนและวัดผลได้จริง และนำผล
การประเมินมาปรับปรุงวิสัยทัศน์และกลยุทธ์อย่างสม่ำเสมอ
References
นฤมล คูหาแก้ว. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
นิภาพร รอดไพบูลย์. (2565). ทักษะการบริหารในศตรวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว. งานนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รัตนา คนไว. (2565). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). หลักสูตรการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (กศ.บ.) รุ่นที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี. (2566). แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2566. สืบค้นจาก https://www.udonthani.go.th/main/download/acttion_plan66/.
สุภาวัฒน์ แสงคำมี. (2561). ปัจจัยคุณลักษณะด้านการสื่อสารที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2558). บทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/521170.
อรกาญจน์ เฉียงกลาง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Antonakis, J., Cianciolo, A. T., & Sternberg, R. J. (2004). The nature of leadership. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Fullan, M. (2016). The new meaning of educational change. (5th ed.). New York: Teachers College Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.
Owens, R. G. (2004). Organizational Behavior in Education: Adaptive Leadership and School Reform. New York: Pearson Education.
Sergiovanni, T. J. (2006). The principalship: A reflective practice perspective. (5th ed.). Boston: Allyn & Bacon.