เศรษฐศาสตร์มูเตลู ธุรกิจบนฐานความเชื่อกับการสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทย

ผู้แต่ง

  • สุริยะ หาญพิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

เศรษฐศาสตร์มูเตลู,, ธุรกิจฐานความเชื่อ,, พระเครื่อง

บทคัดย่อ

ธรรมชาติของมนุษย์มีความหวังและความปรารถนาที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งนอกจากความพากเพียรพยายามและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว การพึ่งพาศรัทธาและความเชื่อก็เป็นอีกหนึ่งทางที่มนุษย์นิยมใช้สร้างความมั่นใจ ธุรกิจความเชื่อที่หลอมรวมความเชื่อพุทธ พราหมณ์ การนับถือผี และสิ่งเร้นลับเข้าด้วยกัน จึงเป็นอุตสาหกรรมแขนงหนึ่งที่มีบทบาทไม่น้อยในระบบเศรษฐกิจของไทย บทความเศรษฐศาสตร์มูเตลูว่าด้วยธุรกิจบนฐานความเชื่อกับการสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทยนี้จึงมุ่งนำเสนอประเด็นธุรกิจความเชื่อกับการสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทย ผ่านกระบวนการกลายเป็นสินค้าความเชื่อ ความศรัทธาที่มีการเสริมสร้างความหมายและเอกลักษณ์ โดยศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อความศรัทธา โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด คุณค่าของมนุษย์ และความหมายที่มีต่อสิ่งที่ทำการศึกษา โดยเน้นวิเคราะห์ข้อมูล
โดยการตีความปรากฎการณ์ทางสังคมโดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์ของกรอบแนวความคิดจากฐานคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมือง จนเกิดการศรัทธานำมาซึ่งการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ผลักดันให้เกิดธุรกิจความเชื่อและการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อความศรัทธาในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ธุรกิจความเชื่อความศรัทธา สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ระบบเศรษฐกิจไทย เนื่องจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์มิได้เป็นเพียงที่พึ่งทางจิตใจแต่ยังเป็นสินค้าที่สำคัญระบบเศรษฐกิจ เมื่อความเชื่อความศรัทธาแปรเปลี่ยนเป็นวัตถุสิ่งของที่มนุษย์เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์จนสามารถช่วยให้มนุษย์ได้ประโยชน์จากการครอบครองหรือกราบไหว้บูชา จึงเกิดเป็นกลไกการทำให้กลายเป็นสินค้าด้วยการผลิตสินค้าศักดิ์สิทธิ์เพื่อนำไปขายให้ได้กำไร และเกิดกระบวนการแปลงมูลค่าความศักดิ์สิทธิ์เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่นำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน

References

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. (2566). Mutelu Economy: สร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทยมหาศาล. INTER ECON, 20, 8-9.

กรมสรรพากร. (2567). ประมวลรัษฎากร. เข้าถึงได้จาก https://www.rd.go.th/674.html.

ณัฐพล อยู่รุ่งเรืองศักดิ์. (2554). พระเครื่องกับสังคมไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ถึง พ.ศ. 2550 : การศึกษาคติ

ความเชื่อ รูปแบบ และพุทธพาณิชย์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณีรนุช แมลงภู่. (2566). การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับเศรษฐกิจแห่งความไม่แน่นอน : ชีวิตทางศาสนาของตัวตนในกระแสเสรีนิยมใหม่ในสังคมไทยปัจจุบัน. วารสารสังคมศาสตร์, 35(1), 162-187.

นิติ กสิโกศล. (2547). พระเครื่อง: ความเชื่อและค่านิยมในสังคมไทย. สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2544). ทุนนิยมกับพุทธศาสนา. ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศร. (2566). ฝ่าภาวะความไม่แน่นอน: การดำรงอยู่ ในห้วงเปลี่ยนผ่านของสังคมไทย. วารสารสังคมศาสตร์, 35(1), 1-17.

พระครูสิริรัตนานุวัตร, พระอาทิตย์ อติภทฺโท, จุฑากานต์ กิ่งเนตร, พราห์มมร โล่สุวรรณ, และหัสดินท์ ภาณุอิสริยาภรณ์. (2556). การบนบาน บวงสรวง: แนวคิด หลักการ และอิทธิพลต่อสังคมไทย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์.

พระมหามนตรี วลฺลโภ (ป้อมสุข). (2542). อิทธิพลของวัตถุมงคลที่มีต่อสังคมไทยในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวิทูล โพธิเศษ และส่งสุข ภาแก้ว. (2566). ความเชื่อเรื่องพระเครื่องในสังคมไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์, 1(1), 41-50.

พระสุริยา สุริโย คงคาไหว และพระมหาอภินันท์ คำหารพล. (2561). วัตถุมงคลพระเครื่องกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 520-538.

พระอนัญญ์พงศ์ สนเตสโก (ชายเกต). (2563). พุทธรูป : สัญลักษณ์แห่งศรัทธาหรือพานิชย์. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 25(2), 68-76.

ภณกุล ภวคุณวรกิตติ์. (2555). พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย: กรณีศึกษาวัดในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรพงษ์ กงเวียน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสาครในการบูชาวัตถุมงคล. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศศิวิมล สิทธิโชค. (2557). ปัญหาในการควบคุมการจัดสร้างและการเช่าบูชาวัตถุมงคลตามกฎหมายที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์, สกฤติ อิสริยานนท์, สุธี ประศาสน์เศรษฐ์ และชัยณรงค์ เครือนวน. (2565). เศรษฐศาสตร์การเมืองของการแสวงหาและใช้ผลประโยชน์ส่วนเกินขององค์กรศาสนา. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(2), 207-222.

สุทธิวัฒน์ โตสมบุญ. (2563). กระบวนการถ่ายทอดความรู้ของผู้ค้าพระเครื่องไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อภิชาติ ประเสริิฐ. (2565). The Knowledge Econo (มูเตลู) สมบูรณ์พูนสุข. กรุงเทพฯ: สำนักงานบริิหารและพัฒนาองค์์ความรู้.

อุดม จันทิมา และพิชญานันต์ พงษ์ไพบูลย์. (2567). พระเครื่องกับวัฒนธรรมไทย: การปรับตัวในบริบทสังคมร่วมสมัย. วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย, 10(2), 17-39.

อุดม จันทิมา. (2561). การสร้างพระเครื่องที่มีคุณค่าในสังคมไทย. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 25(30), 27-59.

Bertman, S. (1998). Hyperculture: The Human Cost of Speed-Praeger. Westport, CT: Praeger.

Garsten, C. (2008). Workplace Vagabonds: Career and Community in Changing Worlds of Work. Basingstoke: Palgrave Macmillan.

Harvey, D. (1989). The Condition of Postmodernity. Cambridge: Blackwell.

Hassan, R. (2009). Empires of speed: Time and the acceleration of politics and society. Boston: Brill Academic Pub.

Rosa, H. (2013). Social Acceleration: A New Theory of Modernity. New York: Columbia University Press.

Samimian-Darash, L. (2019). Uncertainty by Design: Imagining and Enacting Future Scenarios. Jerusalem: The Hebrew University of Jerusalem.

Smith, J. (2020). Amulets and Their Role in Modern Thai Society. Journal of Southeast Asian Studies, 51(3), 350-365.

Swearer, D. K. (2022). The Role of Amulets in Thai Buddhist Practice. Chiang Mai: Silkworm Books.

Thaipbs. (2567). Soft Power สายมูเตลูดันเศรษฐกิจไทยกระฉูด 10,800 ล้าน. เข้าถึงได้จาก https://www.Thaipbs.or.th/ news/content/330701.

Wong, R. (2019). Buddhist Amulets in Modern Society: A Study of Beliefs and Practices. New York: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

หาญพิชัย ส. (2025). เศรษฐศาสตร์มูเตลู ธุรกิจบนฐานความเชื่อกับการสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทย. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1446