แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายภูพระบาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

ผู้แต่ง

  • อดิศร พงษ์เซียงซา คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา, แนวทางพัฒนา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายภูพระบาท 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายภูพระบาท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 147 คน จากสถานศึกษา 15 แห่ง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ 1) แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x} ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการบริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายภูพระบาท อยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านบริหารงานทั่วไป  รองลงมาคือ ด้านบริหารงานบุคคลและด้านวิชาการ  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านงบประมาณ 2. แนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายภูพระบาท คือ ด้านวิชาการ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรวางแผนการจัดซื้อหนังสือเรียนและในกรณีที่ทางร้านจัดส่งหนังสือล่าล้าไม่ทัน ครูผู้สอนควรมีหนังสืออิเล็กทรอนิก หรือ E-book ด้านงบประมาณ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรเลือกเจ้าหน้าที่การเงินที่ไม่มีแนวโน้มที่จะย้ายโรงเรียนและผู้บริหารสถานศึกษาควรตรวจสอบรายงานทางการเงินอยู่เสมอ ด้านบริหารงานบุคคล คือ สถานศึกษาควรมีระบบแจ้งเตือนวันต่อใบประกอบวิชาชีพรายบุคคลและประชาสัมพันธ์หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่น่าสนใจให้กับครูในสถานศึกษา และด้านบริหารงานทั่วไป คือ สถานศึกษาควรมีการจัดทำแผนงานและโครงการงานป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองครูที่ปรึกษาครูแนะแนวในการกำหนดกิจกรรม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร.

กิ่งนภา เมืองจันทร์. (2560). ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

ภัททิยา อรรคดี. (2561). การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลด้วยระบบคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.

ภัทรกร มิ่งขวัญ. (2560). การศึกษาความพึ่งพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัด นครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

สายรุ่ง มีหลาย. (2560). การศึกษาสภาพการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จังหวัดพะเยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

อมรรัตน์ ศรีพอ. (2561). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะวามคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรพล มหาขันธ์. (2560). แนวทางแก้ไขการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์. ค.ม. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

ชลพงษ์ ทองอุดม. (2564). แนวทางการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

ปทุมพร กาญจนอัตถ์. (2561). แนวทางการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อนุเดช บ้านสระ. (2564). แนวทางการบริหารงานทั่วไปของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์. ค.ม. บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30