การพัฒนาสู่ความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตามบริบทพื้นที่
คำสำคัญ:
การพัฒนา;, เมืองแห่งการเรียนรู้;, บริบทพื้นที่บทคัดย่อ
ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกด้านของชีวิตประจำวัน การพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น เมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning city) คือ ชุมชนที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประชาชนทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงการศึกษาและโอกาสในการพัฒนาตนเอง อย่างเท่าเทียม การเรียนรู้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มศักยภาพของบุคคล แต่ยังเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและเศรษฐกิจ ท้องถิ่น บทความนี้นำเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ในบริบทของประเทศไทย โดยสรุปแนวปฏิบัติที่ดี จากแหล่งที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนาตามบริบทของพื้นที่เพื่อให้การพัฒนาเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
References
กรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2563). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
Agbedahin, A.V. (2019). Sustainable development, education for sustainable development, and the 2030 agenda for sustainable development: Emergence, efficacy, eminence, and future. Sustainable Development, 27(4), 669-680.
CISCO. (2010). The learning society. San Jose, CA: CISCO Public Information.
International Association of Educating Cities. (2020). Charter of Educating Cities. Retrieved from https://www.edcities.org/wp-content/uploads/2020/11/ENG_Carta.pdf.
POST TODAY. (2566). “กรุงเทพฯ ขอนแก่น ยะลา” เมืองแห่งการเรียนรู้ของโลกโดย UNESCO. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/smart-city/705904.
UNESCO Institute for Lifelong Learning. (2015). UNESCO global network of learning cities: Guiding documents. Hamburg: UNESCO Institute for Lifelong Learning.
UNESCO. (2015). Introduction to open access. Paris: Author.