แนวทางการจัดการเรียนรู้พุทธเศรษฐศาสตร์ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองยั่งยืน ในยุคสังคมดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ภูมิณัฎฐ์ ยงค์พีระกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชรินทร์ มั่งคั่ง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วรินทร สิริพงษ์ณภัทร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้พุทธเศรษฐศาสตร์ดิจิทัล, ความเป็นพลเมืองยั่งยืน, สังคมดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้พุทธเศรษฐศาสตร์ดิจิทัล ที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองยั่งยืนในยุคสังคมดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา 2) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้พุทธเศรษฐศาสตร์ดิจิทัล ที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองยั่งยืนในยุคสังคมดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลผ่านการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 9 ท่าน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง

            ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1)Topic (T) กำหนดหัวข้อ, 2) Inspect (I) วิเคราะห์, 3) Make progress (M) ลงมือปฏิบัติ, 4) Epitomize (E) สรุปองค์ความรู้, 5) Recommend (R) ให้คำแนะนำ และ  6) Spread (S) ต่อยอดอย่างยั่งยืน และ 2) แนวทางการจัดการเรียนรู้มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้ 1) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ด้านสื่อการสอน 3) ด้านการวัดและประเมินผล

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

นิติบดี ศุขเจริญ และเปศล ชอบผล. (2565). การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดขั้นสูง: การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 16(1). 79-92.

เยาวเรศ ภักดีจิตร, บังอร ทิวาพรภานุกูล, และทิพรัตน์ มาศเมธาทิพย์(2563). รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์. มรม., 14(3), 159-172.

ศิระ ประเสริฐศักดิ์, อรุณกมล จันทรส, กาญจนา บุญส่ง, และนิภา เพชรสม. (2566). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงในยุคดิจิทัล. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 6(2), 83-99. https://so03.tci-thaijo.org/index.php /JPR/article/view/ 269436/181351.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 34. โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. https://www.obec.go.th/archives/813787

อพัชชา ช้างขวัญยืน, รุจโรจน์ แก้วอุไร,วินัย วงษ์ไทย, และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2564). การจัดการเรียนเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,23(3), 452-465.

อภิชัย พันธเสน. (2558). พุทธเศรษฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Jaufar, S. (2021). Shaping of sustainable citizenship among young people of Kulhudhuffushi, Maldives and Hamilton. New Zealand: context, Sustain Earth.

Kurian, P. A., Munshi, D., & Bartlett, R. V. (2014). Sustainable citizenship for a technological world: negotiating deliberative dialectics. Citizenship Studies, 18(3-4), 435-451.

Ministry of Digital Economy and Society. (2019). Thailand digital economy and society development plan (2018-2037). Office of National Digital Economy and Society Commission.

Poeck, K. Van, Vandenabeele, J. & Bruyninckx H. (2009). SUSTAINABLE CITIZENSHIP AND EDUCATION. Conference 'Lifelong Learning Revisited: What Next? At: Stirling, Scotland.

UNESCO. (2017). Fostering digital citizenship education in Asia-Pacific. https://bangkok.unesco.org/ content/fostering-digital-citizenship-education-asia-pacific

United Nations. (2024). Sustainable development goals. The United Nations. https://www.un.org/ sustainabledevelopment/globalpartnerships/.

Wikramanayake, G. (2005). Impact of Digital Technology on Education. In 24th National Information Technology Conference.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-13