การเรียนรู้ประวัติศาสตร์แบบเสวนาปัญญาฐานสถานการณ์จำลองอนาคต เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบเสวนาปัญญา, ทักษะการคิดสร้างสรรค์, สถานการณ์จำลองอนาคตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินคุณภาพแผนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์แบบเสวนาปัญญาฐานสถานการณ์จำลองอนาคตเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้แบบเสวนาปัญญาฐานสถานการณ์จำลองอนาคตที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 28 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการสอนประวัติศาสตร์แบบเสวนาปัญญาฐานสถานการณ์จำลองอนาคต 2) แบบประเมินระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
จากผลการวิจัยพบว่า
- ผลการประเมินแผนการเรียนรู้แบบเสวนาปัญญาฐานสถานการณ์จำลองอนาคตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในภาพรวมมีคุณภาพระดับมากที่สุด (M=4.52, SD=0.62)
- การประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน หลังจากที่ได้เข้าร่วมการเรียนการสอนแบบเสวนาปัญญาฐานสถานการณ์จำลองอนาคต มีคะแนนร้อยละความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 44.63
References
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างบัณฑิตอุดมคตไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ณรงค์ กาญจนา. (2558). วิธีสอน. จากhttps://skruteachingmethods.blogspot.com/p/blog-page_16.html
ณัฐกานต์ ภูมิคอนสาร. (2564). ทักษะความคิดสร้างสรรค์ที่หล่นหายไปของผู้เรียนกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(1), 1-9.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มนต์ชัย พินิจจิตรสุนทร. (2553). Dialogue สุนทรียสนทนา ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ; โมโนธีม คอนซัลติ้ง.
วรินทร สิริพงษ์ณภัทร และคณะ. (2567). เทคนิคการตั้งคำถามแบบโสเครติสเพื่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 22(1), 21-36.
วิจารณ พานิช. (2555). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล
วิจารณ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์
สิริกร อมฤตวาริน และเอนก สุวรรณบัณฑิต. (2565). สุนทรียสนทนา: เครื่องมือของกระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(1), 152-161.
เสริมศรี ลักษณศิริ. (2540). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.
อนุชา โสมาบุตร. (2556). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. จาก https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/learning-and-innovation-skills/
Alexander, R. (2020). A Dialogic Teaching Companion. New York: Routledge.
Bohm, D. (2004). On Dialogue. New York: Routledge.
Kim, M.Y., & Wilkinson, I. (2019). What is dialogic teaching? Constructing, deconstructing, an reconstructing a pedagogy of classroom talk. Learning, Culture and Social Interaction, 21, 70-86.
OECD. (2018). The Future of Education and Skills Education 2030. Paris: Organization for Economic Co-operation and Development.
Partnership for 21stcentury skills. (2009). Professional Development: A 21st Century Skills Implementation Guide. Tucson: Partnership for 21stcentury skills Organization.
Pearson cooperation. (2017). The Future of Learning: Pearson Annual Report and Accounts 2017. New York, NY: Pearson.
UNESCO. (2018). Building Tomorrow’s Digital Skills: What Conclusions Can We Draw from International Comparative Indicator. Paris: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการยุคใหม่ มหาวิทยาลัยชินวัตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.