การเรียกขวัญคนป่วย: พิธีกรรมของชนเผ่าไทแดง บ้านตะออนใต้ เมืองเชียงค้อ แขวงหัวพัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คำสำคัญ:
การเรียกขวัญคนเจ็บ, ชนเผ่าไทแดง, แขวงหัวพัน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชนเผ่าไทแดงบ้านตะออนใต้ เมืองเชียงค้อ แขวงหัวพัน สปป.ลาว 2) ศึกษาบทเรียกขวัญคนเจ็บในพิธีกรรมของชนเผ่าไทแดงบ้านตะออนใต้ และ 3) หาแนวทางในการอนุรักษ์บทพิธีเรียกขวัญคนเจ็บของชนเผ่าไทแดงบ้านตะออนใต้ เมืองเชียงค้อ แขวงหัวพัน สปป.ลาว โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และ ใช้วิธีการสังเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักการทางคติชนวิทยา
ผลการศึกษา โดยใช้วิธีการสังเคราะห์ข้อมูลทางคติชนวิทยา พบว่า 1) ชนเผ่าไทแดงบ้านตะออนใต้ แขวงหัวพัน สปป.ลาว มีวิถีชีวิตที่ติดพันธ์กับการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่รอบตัว เช่น ผีบรรพบุรุษ เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าผู้รักษาน้ำ มีภาษาพูด(ไทแดง)เป็นของตนเองแต่ไม่ปรากฎภาษาเขียน(ไทแดง)อย่างชัดเจน ส่วนผู้ที่ได้รับการสืบทอดให้เป็นผู้นำพิธีเรียกขวัญคนเจ็บ จะได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษโดยการสอนบทเรียกขวัญแล้วให้จำไม่มีตำราเอกสารบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร 2) เมื่อคนในชุมชนไทแดง บ้านตะออนใต้ มีอาการเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุว่ามาจากสิ่งใด จะมีความเชื่อว่าเกิดจากขวัญในตัวหายไปโดยอาจเป็นการกระทำของผีบรรพบุรุษ เจ้าป่าเจ้าเขา ซึ่งบทเรียกขวัญคนป่วยของชนเผ่าไทแดง บ้านตะออนใต้ ได้ปรากฏเนื้อหา 3 เรื่อง ดังนี้ 3.1) การขอร้องอ้อนวอนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3.2) การห้ามขวัญและการบอกเตือนขวัญของคนป่วย 3.3) การเรียกขวัญของผู้ที่เจ็บป่วยนั้นให้กลับมาอยู่กับเนื้ออยู่กับตัว 3) แนวทางการอนุรักษ์ พิธีเรียกขวัญคนเจ็บของชนเผ่าไทแดงบ้านตะออนใต้ เมืองเชียงค้อ แขวงหัวพัน สปป.ลาว ได้แก่ การเผยแพร่ความรู้ทางพิธีกรรมสู่สาธารณชนผ่านการจัดทำเทปบันทึกเสียงบทเรียกขวัญคนเจ็บ เนื่องจากไม่มีการสืบทอดโดยทายาทหรือภาษาเขียน ผู้ที่สนใจหรืออยากเรียนรู้บทเรียกขวัญ จะต้องฟังแล้วจำเพียงเท่านั้น
References
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ສີວຽງແຂກ ກອນນີວົງ, (2013), ວັດຈະນານຸກົມພາສາລາວ (ລາວແປລາວ), 2.000ເຫຼັ້ມ, 02, ພິມໂຮງພິມ ແຫ່ງລັດ.
ສອນສະນິດ ບຸນຕະວົງ, (2012), ກະຊວງສຶກສາທິການ ແລະກິລາ, ມະຫາວິທະຍາໄລ ສຸພານຸວົງ, ວັນນະຄະດີພື້ນເມືອງລາວ.
ແສງຟ້າ ໂຫລານຸພາບ, (2005), ພາສາສາດນໍາໃຊ້, ພາກວິຊາພາສາລາວວັນນະຄະດີ - ສື່ສານມວນ ຊົນຄະນະອັກສອນສາດ ມະຫາວິທະຍາໄລແຫ່ງຊາດ.
ບຸນເລີດ ທໍາມະຈັກ ແລະມະຫາແກ້ວ ສິຣິວົງສາ, (2004), ປະເພນີພິທີກໍາຮີດຄອງບູຮານລາວ, ພິມ ທີ່ວິສາຫະກິດໂຮງພິມສຶກສາ.
Bowen, J .J. (2011).Religions in Practice: An Approach to the Anthropology of Religion.Boston: Prentice Hall.
Morris, Brian. (2006). Religion and Anthropology: A Critical Introduction. Cambridge:Cambridge University Press.
Phaethong, B. (1997). Bai Sri : A symbol of life rituals. Bangkok: Fine Arts Department (In Thai)
Itdhiphol, A. (2015). Oul recalling in therapeutic ceremonies of the Phu-Thai shamans. Journal of Liberal Arts, 7(1), 35-55.
Thammawat, J. (1987). Folklore. Maha Sarakham: Srinakharinwirot University, Bangkok
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการยุคใหม่ มหาวิทยาลัยชินวัตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.