ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตําบลศาลาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตําบลศาลาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตําบลศาลาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จํานวน 925 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตําบลศาลาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยคํานวณตามสูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้จํานวน 278 คน และทําการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สําหรับสถิติเชิงวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตําบลศาลาลัย อําเภอสามร้อยยอดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านจิตใจ และด้านร่างกาย มีค่าเฉลี่ยต่ําสุด 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลศาลาลัย อําเภอสามร้อยยอดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากทดสอบสมมติฐานปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลศาลาลัย อําเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระดับสูงมาก คือ ระบบการดูแลสุขภาพ r =.257** อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .01
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จากhttp://www.dop.go.th/th/know/1
ปาริชาติ เพชรสุวรรณ. (2562). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลนาสีทอง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
วารุณี อุบล. (2563). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองเบตง. ปริญญาพิเศษ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณพิต. สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศรันยา สถิต. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสุขภาพ. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
องค์การอนามัยโลก. (2561). พัฒนาการส าคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ.แปลจาก Milestones in Health Promotion: Statements from global conferences. แปลโดย สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี.กรุงเทพฯ: ธนาเพร์ส